เทคโนโลยีสารสนเทศ

สิ่งประดิษฐ์: เทคโนโลยีสารสนเทศ

  • สิ่งประดิษฐ์: เทคโนโลยีสารสนเทศ // Foto: © jim / fotolia.com สิ่งประดิษฐ์: เทคโนโลยีสารสนเทศ // Foto: © jim / fotolia.com
    คอนราด ซูเซอ 1910-1995 วิศวกรโยธา นักประดิษฐ์และเจ้าของธุรกิจ


    “ผมแค่ขี้เกียจคิดเลข”


    กระดาษ ดินสอและไม้บรรทัดคำนวณ การคำนวณที่ซับซ้อนและซ้ำไปซ้ำมากำหนดชีวิตประจำวันของวิศวกรโยธาในทศวรรษ 1930 คอนราด ซูเซอรู้สึกว่าเครื่องมือจะช่วยทำงานที่น่าเบื่อจำเจนี้ได้ ค.ศ.1941 เขาจึงประดิษฐ์ Z3 คอมพิวเตอร์ที่ใช้การได้จริงเป็นเครื่องแรกของโลก
    Foto: © jim / fotolia.com

    สิ่งประดิษฐ์: เทคโนโลยีสารสนเทศ // Foto: © jim / fotolia.com


    มั่นใจในกลุ่มเมฆ

    การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศง่ายและถูกขึ้น ใน “กลุ่มเมฆ” (Cloud) ทุกคนสามารถเช่าหน่วยประมวล จัดเก็บข้อมูลและซอฟท์แวร์ได้มากตามที่ต้องการ แต่บุคคลและบริษัทยังไม่แน่ใจ เพราะกลัวเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล กระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจึงสนับสนุนโปรแกรมวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความมั่นคงและปลอดภัยของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ

    นักวิจัยที่สมาคมเฟราน์โฮเฟอร์พัฒนาแนวคิดสำหรับ “พื้นที่ข้อมูลอุตสาหกรรม” (Industrial Data Space) ในอนาคต บริษัทต่างๆ จะสามารถเชื่อมต่อข้ามสาขากันได้ในพื้นที่ข้อมูลเปิดนี้ โดยยังสามารถควบคุมข้อมูลของตนได้


    ห้องทดลองความปลอดภัยของ Cloud จะช่วยปกป้องข้อมูลให้ปลอดภัยมากขึ้น

      อยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีบัตร

      บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรประกันภัย บัตรสมาชิก ปัจจุบัน ชีวิตที่ไม่มีบัตรแบบชิปที่มีชิบฝังคงแทบเป็นไปไม่ได้ คนแรกที่ริเริ่มความคิดจะบันทึกข้อมูลไว้ในบัตรคือยัวร์เกน เดทลอฟ ช่างเทคนิควิทยุ

      ค.ศ.1969 เขาจดสิทธิบัตรพลาสติกที่มีวงจรใบแรก ค.ศ.1977 จึงเกิดบัตรแบบไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน บัตรแบบชิปใบแรกที่ออกขายคือบัตรโทรศัพท์ ปลายทศวรรษ 1990 จึงเกิดบัตรเดบิตที่ยอมรับในหลายธุรกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ไมโครโปรเซสเซอร์อันจิ๋วสามารถเก็บและประมวลข้อมูลได้มากขึ้นเรื่อย บัตรฝังชิปจึงเริ่มกลายเป็นมินิคอมพิวเตอร์ไปแล้ว


      เกือบทุกคนต้องพกบัตรแบบฝังชิปในกระเป๋าสตางค์

        กำเนิดคอมพิวเตอร์

        คอมพิวเตอร์เครื่องแรกตั้งอยู่ในห้องนั่งเล่นของครอบครัวซูเซอในกรุงเบอร์ลิน คอนราดผู้เป็นลูกชายเพิ่งเรียนจบสาขาวิศวกรรมโยธา ค.ศ.1935 เขาเริ่มสร้างเครื่องคำนวณที่ตั้งโปรแกรมได้ Z1 มีขนาดใหญ่เท่าเตียงคู่และเสียบ่อย เพราะวงจรสวิทช์ (Switch gear) ติดขัดเสมอ รุ่นต่อมา ซูเซอจึงใช้เครื่องถ่ายสัญญาณ (relay) ซึ่งเป็นวงจรไฟฟ้าแม่เหล็กแทน

        จนกระทั่งเวอร์ชั่นที่สาม Z3 จึงสามารถใช้งานได้จริงและเป็นคอมพิวเตอร์ที่ตั้งโปรแกรมได้เครื่องแรกของโลก ปีค.ศ.1949 คอนราด ซูเซอจึงตั้งบริษัทคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของเยอรมนีแต่ไม่ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจนัก


        คอนราด ซูเซอ หน้าเครื่องจำลอง Z3 คอมพิวเตอร์ที่ตั้งโปรแกรมได้เครื่องแรกของโลก

          จุดและเส้น

          ตั้งแต่ทศวรรษ 1920 รูดอล์ฟ เฮล ช่างไฟฟ้าและนักประดิษฐ์มีความคิดที่จะนำข้อความและภาพมาแยกเป็นจุดและเส้น เพื่อถ่ายทอดทางอิเล็คโทรนิคได้ ค.ศ.1929 เขาสร้างเครื่อง “Hellschreiber” (เครื่องพิมพ์ของเฮล) ในบริษัทของเขาที่อยู่ใกล้กับกรุงเบอร์ลิน จวบจนปัจจุบันเครื่องโทรสารยังทำงานด้วยหลักการเดียวกัน

          ค.ศ. 1958 เฮลเริ่มพัฒนาเครื่องสแกนสีที่สัมผัสรูปและแปลงเป็นข้อมูลดิจิทัล สมัยนั้น สแกนเนอร์ยังเป็นเครื่องขนาดใหญ่ยักษ์ และเพิ่งจะมีขนาดเล็กเมื่อสแกนเนอร์แบบมือถือออกสู่ตลาดเครื่องแรก

          ตลอดชีวิตของเขา เฮลจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์รวม 127 ชิ้น โดยมีเป้าหมายจะสร้างความก้าวหน้าและการใช้ประโยชน์จริง


          รูดอล์ฟ เฮล กับเครื่องพิมพ์ “Hellschreiber” ต้นแบบของเครื่องโทรสาร

          สแกนเนอร์ทำให้ข้อมูลอะนาล็อกสามารถนำมาใช้ในรูปดิจิทัลได้

            อุตสาหกรรมยุค 4.0.

            เครื่องจักรไอน้ำ สายพาน เทคโนโลยีสารสนเทศ โลกแห่งการทำงานได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สามครั้ง ตอนนี้ ครั้งที่สี่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว วิสัยทัศน์ของอุตสาหกรรมยุค 4.0 คือโรงงานอัจฉริยะ ที่เครื่องจักร เครื่องมือและยานพาหนะเชื่อมต่อกับหมดผ่านระบบเซ็นเซอร์ หัวฉีดและคอมพิวเตอร์เครื่องจิ๋วโดยใช้อินเตอร์เนต ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ตลอดเวลา การผลิตและการขนส่งสินค้าจะมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยปรับสินค้าให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าแต่ละคน นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ผลิตเครื่องจักร ผู้เชี่ยวชาญไอทีและผู้ขนส่งสินค้าทำงานร่วมกันระหว่างสายงานได้อีกด้วย

            วิดีโอ: โรงงานในอนาคต


            โรงงานในอนาคต ทุกอย่างจะเชื่อมต่อกันหมด

              3D ไม่พึ่งแว่น

              เทคโนโลยี 3 มิติสร้างประสบการณ์การดูภาพยนตร์ใหม่เอี่ยม ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ผู้ชมยังต้องใช้แว่นตาพิเศษ เพราะความรู้สึกต่อพื้นที่จะเกิดขึ้นเมื่อตาซ้ายและขวาได้เห็นเพอร์สเป็คทีฟที่แตกต่าง แต่โทรทัศน์แบบใหม่จะช่วยให้ฉายภาพยนตร์ 3 มิติได้โดยไม่ต้องใช้แว่นตา แต่ความชัดเจนอาจน้อย เพราะการฉายต้องแสดงภาพที่มีเพอร์สเป็คทีฟหลากหลายพร้อมกัน

              ทีมงานในเบอร์ลินกำลังพัฒนาวิธีประมวลภาพใหม่ที่จะแก้ไขปัญหานี้ เซ็นเซอร์จะจับตำแหน่งของผู้ดู และมีซอฟท์แวร์ที่ทำให้ผู้ชมดูภาพสามมิติได้เหมือนอยู่ตรงหน้า แม้ว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในห้องก็ตาม


              3D: ผู้ชมจะรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์