โตเกียว
การแสดง Beethovens Ghostwriter

ความจริงทางศิลปะคืออะไร ในการแสดงที่ว่าด้วยเรื่องของ “เบโธเฟนชาวญี่ปุ่น” และนักแต่งเพลงรับจ้างของเขาที่ได้ตั้งคำถามต่อความเกี่ยวพันธ์ของคุณค่าทางศิลปะในบริบทของความนิยมในความเป็นอัจฉริยะและความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
 

จุดเริ่มต้นของการแสดงเชิงบรรยาย “Beethoven’s Ghostwriter” นี้มาจากเรื่องอื้อฉาวในวงการดนตรีญี่ปุ่นที่ได้สร้างวุ่นวายทั้งในญี่ปุ่นและสื่อต่างประเทศในปี ค.ศ. 2014 เมื่อนักแต่งเพลงชื่อ Takashi Niigaki ออกมาเปิดเผยว่าเขาได้รับหน้าที่เป็นนักแต่งเพลงรับจ้างให้แก่ Mamoru Samuragochi ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “เบโธเฟนชาวญี่ปุ่น” ตลอดเวลา 18 ปีที่ผ่านมา Samuragochi สร้างอัตลักษณ์ความเป็นศิลปินที่ลึกลับโดยการกล่าวอ้างว่าเขานั้นเป็นคนหูหนวกโดยสมบูรณ์และนำเสนอรูปลักษณ์ที่ผิดแปลกของเขาด้วยการสวมเสื้อผ้าสีดำ แว่นตาตำและถือไม้เท้าอยู่ตลอดเวลา เขาได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่แฟนเพลงญี่ปุ่น จากแง่มุมอันหลากหลายของเรื่องอื้อฉาวดังกล่าวทำให้เห็นถึงการที่สื่อได้สร้างประเด็นมากมายขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องความเป็น “อัจฉริยะ” และ “ความพิการ” ในวงการศิลปะเชิงพาณิชย์ ในผลงานการแสดงเชิงบรรยายของศิลปินนักแสดง Michikazu Matsune ชิ้นนี้ เขาได้สำรวจการแสดงออกของสื่อรอบๆ ตัวละครสองตัวอันได้แก่ Samuragochi และ Niigaki นำเสนอออกมาเป็นการแสดงที่ว่าด้วยเรื่องของการบูชาความเป็นอัจฉริยะและความกระหายในเอกลักษณ์และความนิยมของผู้ชม Matsune นำเสนอมุมมองยุคปัจจุบันในเรื่องของอุปสรรคมากมายในการแสวงหาความจริงของศิลปิน