วรรณกรรมเด็กและเยาวชน
ฟ้าก็ไม่ใช่ ชมพูก็ไม่เชิง

แม้เรื่อง “ทาร์ซาน” จะนำเสนอภาพบทบาททางเพศที่ล้าสมัย แต่เรื่องนี้กลับยังเป็นที่นิยมอย่างมากของเด็กทั้งสองเพศ
แม้เรื่อง “ทาร์ซาน” จะนำเสนอภาพบทบาททางเพศที่ล้าสมัย แต่เรื่องนี้กลับยังเป็นที่นิยมอย่างมากของเด็กทั้งสองเพศ | ภาพ: © picture alliance / Jens Kalaene

วรรณกรรมเด็กและเยาวชนเลือกใช้ภาพเหมารวมเรื่องเพศมากแค่ไหน? มาร์เลเนอ เซอห์เรอร์ (Marlene Zöhrer) ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมเห็นว่า วงการหนังสือในปัจจุบันมีความหลากหลายและเปิดกว้างอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

วรรณกรรมเด็กและเยาวชนสะท้อนให้เห็นโลกที่เด็ก ๆ ใช้ชีวิต ตลอดจนความสัมพันธ์ บรรทัดฐาน และคุณค่าทางสังคม ขณะเดียวกัน เรื่องราวที่เล่าผ่านตัวอักษรและรูปภาพก็ถือเป็นผลิตผลแห่งยุคสมัย เช่น นวนิยายเด็กหญิงคลาสสิกของ เอมมี ฟอน โรเดน (Emmy von Rhoden) เรื่อง เด็กหัวแข็ง ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1885 มีเนื้อหาสอดคล้องไปกับภาพลักษณ์ของสตรีและมาตรฐานการเลี้ยงดูในเวลานั้น แต่หากมองจากปัจจุบัน เรื่องราวของอิลเซอ (Ilse) ที่ถูกชุบเลี้ยงหล่อหลอมในโรงเรียนประจำให้กลายเป็นกุลสตรีที่เพียบพร้อมสำหรับการแต่งงาน ช่างฟังดูล้าสมัยเหลือเกิน กระนั้น เด็กหัวแข็ง กลับได้รับการเผยแพร่ซ้ำในฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 2020 ในรูปแบบหนังสือเสียง โดยมี ไฮเคอ มาคัทช์ (Heike Makatsch) นักแสดงหญิงชาวเยอรมันเป็นผู้อ่าน มันเป็นแบบนี้ไปได้อย่างไร หรือแท้จริงแล้ว วรรณกรรมเด็กและเยาวชนนั้นถดถอยเสียจนต้องหันกลับไปยึดโยงบทบาททางเพศที่ล้าสมัย และพยายามที่จะผลิตซ้ำความคิดนี้ต่อไป นวนิยายเด็กคลาสสิกที่มีภาพลักษณ์สตรีล้าสมัย เรื่อง Der Trotzkopf (เด็กหัวแข็ง) จากปี 1885 ไม่เพียงแต่ถูกทำเป็นภาพยนตร์ในเกือบ 100 ปีหลังจากนั้น (ค.ศ. 1983) แต่ยังได้รับการเผยแพร่ซ้ำในฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 2020 ในรูปแบบหนังสือเสียง โดยมี ไฮเคอ มาคัทช์ (Heike Makatsch) เป็นผู้อ่าน นวนิยายเด็กคลาสสิกที่มีภาพลักษณ์สตรีล้าสมัย เรื่อง Der Trotzkopf (เด็กหัวแข็ง) จากปี 1885 ไม่เพียงแต่ถูกทำเป็นภาพยนตร์ในเกือบ 100 ปีหลังจากนั้น (ค.ศ. 1983) แต่ยังได้รับการเผยแพร่ซ้ำในฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 2020 ในรูปแบบหนังสือเสียง โดยมี ไฮเคอ มาคัทช์ (Heike Makatsch) เป็นผู้อ่าน | ภาพ: © picture alliance / United Archives

เท่าเทียมและหลากหลายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

คำตอบของคำถามข้างต้น คือ ไม่มีทาง วรรณกรรมเด็กและเยาวชนร่วมสมัยมีเนื้อหาเท่าเทียม หลากหลาย และเปิดกว้างอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่เราไม่อาจโต้แย้งได้ว่า วรรณกรรมยังมีหนทางอีกยาวไกลกว่าจะได้มาซึ่งความเท่าเทียมกันอย่างทั่วถึง หรือหลุดพ้นจากบทบาททางเพศที่สืบทอดต่อกันมา เช่นเดียวกับสังคมของเรา

การจะวัดว่าวรรณกรรมเด็กและเยาวชนร่วมสมัยมีเนื้อหาปลดแอกมากน้อยเพียงใดนั้นทำได้ยาก ข้อมูลจากการสำรวจเชิงปริมาณสามารถบอกระดับของความเท่าเทียมและการนำเสนอประเด็นเรื่องบทบาททางเพศได้จำกัด การประเมินรายการคำสำคัญอย่างเดียวจึงไม่พอ เพราะวรรณกรรมเป็นมากกว่ากลุ่มก้อนคำสำคัญ ซึ่งไม่สามารถพรรณนาความขัดแย้งสองจิตสองใจของตัวละคร ตัวละครแบบแผน และโครงเรื่องที่บางครั้งเล่นกับวิธีการนำเสนอแบบตายตัวและทำลายมันด้วยการเสียดสี

การพิจารณาการออกแบบปกหนังสือหรือการสำรวจแผนกหนังสือเด็กก็ไม่สามารถบอกอะไรได้เสมอไป เนื่องจากกการออกแบบจะเลือกใช้สีที่คนนิยมและปรับแต่งให้ตรงกับความคุ้นเคยทางการมองเห็น โดยคำนึงถึงการทำตลาดและยอดขายเป็นหลัก การจัดวางหนังสือภายในร้านต่างหากที่สะท้อนให้เห็นมุมมองของผู้ขายที่คัดเลือกหนังสือจากหมวดแบ็กลิสต์ (Backlist หรือหนังสือที่ตีพิมพ์มานานแล้วแต่ยังวางขายอยู่) และหนังสือใหม่จากหมวดวรรณกรรมเด็กและเยาวชนภาษาเยอรมัน ซึ่งมีจำนวนกว่า 8,500 เล่มต่อปี การที่ผู้ขายหนังสือไม่ตระหนักถึงการทำตลาดแบบเฉพาะเจาะจงเพศและการนำเสนอเรื่องเพศแบบเดิม ๆ หรือการที่ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือที่มีเนื้อหาดังกล่าว ย่อมสะท้อนให้เห็นผ่านหิ้งและการจัดวางหนังสือได้เป็นอย่างดี แค่เพียงในร้านหนังสือถัดไป เราก็อาจได้เห็นภาพวรรณกรรมเด็กและเยาวชนที่แตกต่างกันแล้ว

ปกและชื่อเรื่องชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อสังเกตอย่างถี่ถ้วนจะเห็นได้ว่า ในท้องตลาดมีหนังสือจำนวนมาก ตั้งแต่หนังสือภาพสำหรับเด็ก วรรณกรรมเด็กและเยาวชน ไปจนถึงหนังสือความรู้ทั่วไป ซึ่งนำเสนอเรื่องบทบาททางเพศได้อย่างน่าชื่นชม ทั้งยังสื่อสารเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่ผลิตซ้ำความคิดเหมารวมเกี่ยวกับบทบาททางเพศ อย่างไรก็ตาม หนังสือประเภทนี้กลับระบุได้ยากกว่าหนังสือที่เลือกใช้ภาพเหมารวมหรือโครงเรื่องแบบเดิม ๆ ทั้งนี้ เนื่องจากความเท่าเทียมถือเป็นเรื่องปกติในหนังสือเหล่านั้น มันจึงไม่พยายามฝืนใช้สีสัญลักษณ์หรือคำสำคัญ แต่บางครั้ง หนังสือที่หยิบยกประเด็นหรือใช้การออกแบบที่ชวนให้ผู้อ่านคาดว่าจะพบภาพเด็กหญิงชายตามขนบการแบ่งบทบาททางเพศแบบเดิม ก็อาจทำให้เราประหลาดใจ ในทางกลับกัน หนังสือที่เลือกใช้กลวิธีทางวรรณกรรมอย่างซับซ้อน อาจทำให้ผู้อ่านรู้สึกขยาดเพราะภาพจำเจที่ปรากฏในงาน มันไม่มีกฎตายตัว อีกทั้งปกและชื่อเรื่องยิ่งชวนให้เข้าใจผิด การเลือกหนังสือจากตัวนักเขียนจึงน่าเชื่อถือกว่ามาก เพราะคนที่ประพันธ์งานด้วยมุมมองอันปราศจากอคติ ย่อมนำหลักการนี้ไปใช้ในหนังสือเรื่องอื่น ๆ เช่นกัน
บทบาททางเพศในวรรณกรรมเด็กและเยาวชน: หนังสือออกใหม่หลายเล่มได้ทลายความคิดเรื่องเพศแบบเดิม ๆ เช่น ผลงานของ ริคคาร์โด ซิโมเนตติ (Riccardo Simonetti) เรื่อง ราฟฟีกับกระโปรงบัลเลต์สีชมพู ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2019 บทบาททางเพศในวรรณกรรมเด็กและเยาวชน: หนังสือออกใหม่หลายเล่มได้ทลายความคิดเรื่องเพศแบบเดิม ๆ เช่น ผลงานของ ริคคาร์โด ซิโมเนตติ (Riccardo Simonetti) เรื่อง ราฟฟีกับกระโปรงบัลเลต์สีชมพู ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2019 | ภาพ: © picture alliance / Mika Schmidt กลับมายังเนื้อหาที่กล่าวไว้ในตอนต้นของบทความ วรรณกรรมเด็กและเยาวชนย่อมถ่ายทอดคุณค่าและทัศนคติของยุคสมัยที่ตีพิมพ์ คนที่เลือกวรรณกรรมเด็กและเยาวชนโดยดูจากลักษณะความเป็นแบบอย่างที่ดีและหน้าที่ทางการสอน จึงควรมองหาหนังสือที่เหมาะสมจากผลงานร่วมสมัย อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมประเด็นนี้ให้พัฒนาไปได้ไกล คือ การนำหนังสือเก่ามาใช้พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นบทบาททางเพศที่ล้าสมัย ความเท่าเทียมและคุณค่าของมัน