ศิลปะของโยเซฟ บอยส์
ปั้นรูปสังคมราวกับเป็นประติมากรรม

โยเซฟบอยส์ไปแตะขอบเขต – อย่างที่เห็นในภาพนี้ เมื่อปีค.ศ. 1972 ระหว่างการประท้วงต่อต้านวิทยาลัยศิลปะของตนเอง – และส่งอิทธิพลให้ศิลปินรุ่นถัดๆ มาจากเขา
โยเซฟบอยส์ไปแตะขอบเขต – อย่างที่เห็นในภาพนี้ เมื่อปีค.ศ. 1972 ระหว่างการประท้วงต่อต้านวิทยาลัยศิลปะของตนเอง – และส่งอิทธิพลให้ศิลปินรุ่นถัดๆ มาจากเขา | ภาพถ่าย (รายละเอียด): ©picture alliance/dpa/Bernd Müller

โยเซฟ บอยส์เป็นจิตรกร ประติมากร ศิลปินนักจัดวางและนักกิจกรรม เป็นครู เป็นนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวสังคม กล่าวคือ เขาเป็นศิลปินคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของศตวรรษที่ 20 ดังผลงานของเขาที่ยังทรงอิทธิพลมาจนถึงทุกวันนี้

เขาไปแตะขอบเขตที่บางครั้งทำให้เจ็บปวด ควรจะเจ็บปวด และหากใครยังไม่เคยเห็นผลงานของโยเซฟ บอยส์แล้วละก็ คงจะไม่รู้จักประโยคของเขาที่มีการนำไปอ้างอิงมากมายแต่ก็ใช้ผิดความหมายอยู่บ่อยครั้งเช่นกัน คือประโยคที่ว่า “คนเราทุกคนเป็นศิลปิน” เขาไม่ได้จะพูดว่า คนทุกคนนั้นเป็น จิตรกร สถาปนิกหรือนักประพันธ์เพลงแต่อย่างใด แต่ในทุกการกระทำของมนุษย์นั้นสามารถเข้าถึงขั้นของการกระทำศิลปะได้ต่างหาก ด้วยมุมมองเช่นนี้ บอยส์จึงได้เปลี่ยนแปลงความเป็นตัวตน ความเป็นรูปธรรม ขอบเขตและหน้าที่ของศิลปะอย่างถึงแก่นมาจนทุกวันนี้
 
โยเซฟ บอยส์นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีความโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด ด้วยความยินดีที่จะต่อตีกับสื่อและความไม่ปรานีที่เขาได้แสดงออกมาในกิจกรรมทางศิลปะจนถึงขั้นปัญหาสุขภาพ ได้ส่งอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อศิลปินรุ่นใหม่ รายชื่อลูกศิษย์ของเขาในช่วงที่เขาเป็นอาจารย์ที่สถาบันศิลปะดึสเซลดอร์ฟแสดงให้เห็นว่า “ใครเป็นใคร” ในยุคเริ่มแรกของภูมิทัศน์ศิลปะในเยอรมันตะวันตก Imi (เคลาส์ โวล์ฟ) คเนอเบิล, Imi (ไรเนอร์) กีเซ, บลิงกี พาแลร์โม, นอร์แบร์ต ทาดอยส์, อนาโทล แฮร์ซเฟลด์, บาซอน บร็อค, คริส ไรเน็คเค, คาทารินา ซีเวอริง, เอรินนา เคอนิก, ไรเนอร์ รูเทนเบ็ค, โยฮันเนส ชตึทท์เกน – พวกเขาทุกคนได้ร่วมเรียนกับบอยส์ในห้องเรียน 19 ของสาขาวิชามหาประติมากรรม ในบรรดาลูกศิษย์ของเขา คนที่โด่งดังในระดับนานาชาติมากที่สุดจวบจนปัจจุบัน ก็คือ เยิร์ก อิมเมนดอร์ฟฟ์ จิตรกร ประติมากรและศาสตราจารย์ทางศิลปะผู้เสียชีวิตในปีค.ศ. 2007 ผู้นี้ ได้เข้าเรียนในชั้นเรียนของบอยส์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 หลายสิบปีหลังจากนั้นอิมเมนดอร์ฟฟ์ยังคงถกเถียงกับความสัมพันธ์ที่มีต่ออาจารย์บอยส์ผู้ล่วงลับไปในปีค.ศ. 1986 ผู้ที่กระตุ้นให้เขาเกิดความกล้าที่จะแหวกขนบนำหัวข้อและรูปแบบที่แปลกใหม่มาใช้ในงานจิตกรรรม

โยเซฟ บอยส์ (ขวา) ที่สถาบันศิลปะดึสเซลดอร์ฟ: เขาและนักศึกษาประมาณ 30 คนเข้ายึดครองห้องธุรการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1971 เพื่อเรียกร้องให้มีการพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการด้านวิชาการ โยฮันเนส เรา เกี่ยวกับกระบวนการรับนักศึกษาที่เป็นกรณีพิพาทกันอยู่ในขณะนั้น โยเซฟ บอยส์ (ขวา) ที่สถาบันศิลปะดึสเซลดอร์ฟ: เขาและนักศึกษาประมาณ 30 คนเข้ายึดครองห้องธุรการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1971 เพื่อเรียกร้องให้มีการพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการด้านวิชาการ โยฮันเนส เรา เกี่ยวกับกระบวนการรับนักศึกษาที่เป็นกรณีพิพาทกันอยู่ในขณะนั้น | ภาพถ่าย (รายละเอียดl): © picture alliance / Wilhelm Leuschner

การทุบตอกสลักสังคม

ในด้านเนื้อหานั้น บอยส์ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สุดโต่งในสังคม ต่างกับศิลปินคนอื่นๆ ในยุคเดียวกัน เขาได้เอาศิลปะมาพันผูกกับสังคม เชื่อมโยงศิลปะเข้ากับการเมือง วิทยาการ ปรัชญาและเศรษฐกิจ จุดเปลี่ยนคือ ทฤษฎีของเขาเรื่องประติมากรรมสังคม หนึ่งในหัวข้อที่เขาได้ทำงานและจัดแสดงในนิทรรศการ documenta ที่เมืองคาสเซลในปีค.ศ. 1982 ในชุดงานด้านสังคมนิเวศของเขา „7000 Eichen – Stadtverwaldung statt Stadtverwaltung“ (ต้นโอ๊ค 7,000 ต้น - พฤกษบาลแทนเทศบาล) โดยบอยส์และอาสาสมัครหลายคนได้ปลูกต้นไม้จำนวน 7,000 ต้นในระยะเวลา 5 ปีพร้อมวางหินบะซอลท์ไว้ที่ต้นไม้แต่ละต้นในสถานที่ต่างๆ ในเมืองคาสเซล โปรเจ็คท์ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในช่วงแรกนี้กลับกลายเป็นส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ของภาพเมืองคาสเซลในปัจจุบัน

„ต้นโอ๊ค 7,000 ต้น“: การจัดแสดงศิลปะของโยเซฟ บอยส์ในงาน documenta 7 ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของภาพเมืองคาสเซลจนถึงปัจจุบัน – การเดินพักผ่อนหย่อนใจบนทางต้นไม้ของบอยส์ในสามสิบปีให้หลัง ปีค.ศ. 2021 „ต้นโอ๊ค 7,000 ต้น“: การจัดแสดงศิลปะของโยเซฟ บอยส์ในงาน documenta 7 ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของภาพเมืองคาสเซลจนถึงปัจจุบัน – การเดินพักผ่อนหย่อนใจบนทางต้นไม้ของบอยส์ในสามสิบปีให้หลัง ปีค.ศ. 2021 | ภาพถ่าย (รายละเอียด): © picture alliance / dpa / Uwe Zucchi ศิลปินผู้นี้แสดงกิจกรรมการเคลื่อนไหวในฐานะประติมากรรมสังคมที่มิได้จำกัดอยู่เพียงผลงานที่แข็งตัวเท่านั้น หากแต่ยังเปิดรับความคิดและการกระทำอันสร้างสรรค์ของมนุษย์อีกด้วย จากแนวคิดนี้เขาได้วางรากฐานหลักของความเข้าใจในศิลปะที่ส่งผลสู่ปัจจุบัน ศิลปะนั้นมิได้เกิดขึ้นเพียงแค่ในห้องจัดแสดงเท่านั้น  แต่ยังเกิดขึ้นในความขัดแย้งของสังคมอย่างโต้งๆ ได้ด้วยเช่นกัน ด้วยแนวคิดของการมีส่วนร่วมเหล่าศิลปินต่างทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่ถูกละเลยให้ดีขึ้น “การจัดระเบียบสังคมเช่นการขึ้นรูปประติมากรรมนั้น เป็นหน้าที่ของผมและหน้าที่ของศิลปะ” อ้างว่าบอยส์ได้กล่าวเอาไว้

“แนวคิดเรื่องประติมากรรมสังคม – แม้ว่าผมจะไม่ค่อยชอบคำนี้ก็ตาม – อาจเป็นมรดกด้านศิลปะอันยิ่งใหญ่ที่บอยส์ได้ทิ้งเอาไว้” กล่าวเสริมโดย ฟิลิปป์ รูค นักปรัชญาและศิลปินนักกิจกรรม เขาเป็นผู้อำนวยการศูนย์สุนทรียการเมือง (ZPS) ซึ่งเป็นแหล่งรวมศิลปินนักกิจกรรมและผู้สร้างสรรค์งาน ที่ได้จัดการดูแลโปรเจ็คท์ศิลปะแนวปลุกระดมมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2009 “ศิลปินนักกิจกรรมทุบและตอกเพื่อสลักสังคมแทนที่จะไปทำกับก้อนหิน วัสดุที่พวกเขาใช้คือความเป็นจริงทางการเมือง ไม่ใช่วัสดุที่ใช้กันโดยทั่วไป”

ฟิลิปป์ รูค ผู้อำนวยการศูนย์สะสมงานศิลปินเพื่อสุนทรียการเมือง ปีค.ศ. 2018 กรุงเบอร์ลิน ฟิลิปป์ รูค ผู้อำนวยการศูนย์สะสมงานศิลปินเพื่อสุนทรียการเมือง ปีค.ศ. 2018 กรุงเบอร์ลิน | ภาพถ่าย (รายละเอียด): © picture alliance / ZUMAPRESS.com / Sachelle Babbar

การตื่นรู้ผ่านการทำลาย

บอยส์เป็นตัวละครสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจงานของคริสตอฟ ชลิงเงนซีฟได้ ผู้กำกับละครเวทีและภาพยนตร์ นักเขียนและศิลปินนักกิจกรรมชาวเยอรมันที่เสียชีวิตไปเมื่อปีค.ศ. 2010 ผู้นี้มิได้ปกปิดความเคารพชื่นชมของเขาที่มีต่อบอยส์เลย ความศรัทธาต่อบอยส์ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนในผลงานด้านการวิพากษ์สังคมของชลิงเงนซีฟ เช่น ใน  Ausländer raus! Schlingensiefs Container (ต่างชาติออกไป! คอนเทนเนอร์ของชลิงเงนซีฟ) โปรเจ็คท์ศิลปะและภาพยนตร์เนื่องในสัปดาห์เทศกาลเวียนนาในปีค.ศ. 2000 แนวคิดของการจัดแสดงเป็นแนวของรายการโทรทัศน์ Big Brother ผู้ขอลี้ภัยมารวมตัวกันในตู้คอนเทนเนอร์และลงมติเลือกใครบางคนออกไปรายวัน และจะเป็นเหตุในการถูกขับออกจากประเทศออสเตรีย

คริสตอฟ ชลิงเงนซีฟ ที่หน้าตู้คอนเทนเนอร์ของเขาระหว่างสัปดาห์เทศกาลเวียนนาในปี 2000 ตามแนวคิดของรายการ „Big Brother“ ผู้เข้าร่วมรายการที่แนะนำตัวเองว่าเป็น “ผู้ขอลี้ภัย” 12 คนเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในนั้น – กล้อง 8 ตัวถ่ายทอดชีวิตของพวกเขาแบบไลฟ์ลงในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ชมทางบ้านเลือกขับผู้เข้าร่วมออกวันละ 2 ราย คริสตอฟ ชลิงเงนซีฟ ที่หน้าตู้คอนเทนเนอร์ของเขาระหว่างสัปดาห์เทศกาลเวียนนาในปี 2000 ตามแนวคิดของรายการ „Big Brother“ ผู้เข้าร่วมรายการที่แนะนำตัวเองว่าเป็น “ผู้ขอลี้ภัย” 12 คนเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในนั้น – กล้อง 8 ตัวถ่ายทอดชีวิตของพวกเขาแบบไลฟ์ลงในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ชมทางบ้านเลือกขับผู้เข้าร่วมออกวันละ 2 ราย | ภาพถ่าย (รายละเอียด): © picture alliance / IMAGNO / Didi Sattmann ครั้งนั้นชลิงเงนซีฟได้ผลักขอบเขตของประติมากรรมสังคมให้กว้างไปกว่าของบอยส์ที่เขาชื่นชอบ บอยส์ผู้ปลุกระดมภูมิทัศน์ทางศิลปะและท้าทายความคิดพื้นฐานก็จริง แต่ยังไม่เคยไปถึงขอบเขตอันเจ็บปวดของสังคมในระดับนี้ “บอยส์ ในยุคของเขาได้แตะประตูเปิดให้กับชลิงเงนซีฟ อันเป็นสิ่งที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า “การเล่นใหญ่” นั่นเอง” รูคอธิบาย ชลิงเงนซีฟนั้น สำหรับ ZPS เขากลายมาเป็นสิ่งที่บอยส์เคยเป็นสำหรับเขา “ZPS ในสิบสองปีให้หลังมานี้ได้มีกิจกรรมปลุกระดมสังคมว่า 20 ครั้งแล้ว แต่ละครั้งไม่อาจคิดขึ้นมาได้เลยหากปราศจากชลิงเงนซีฟ – และดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เช่นกันหากปราศจากบอยส์ ศิลปะต้องทำให้เจ็บ ต้องดึงดูดและต้องทำลาย ชลิงเงนซีฟเคยเรียกมันไว้ว่า การตื่นรู้ผ่านการทำลาย”