เครื่องมือสำหรับห้องเรียนออนไลน์
การจัดการเรียนการสอนภาษาในรูปแบบดิจิทัลอย่างมีปฏิสัมพันธ์: เครื่องมือและคำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้

มีเครื่องมือมากมายที่จะช่วยให้การเรียนการสอนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศแบบออนไลน์ประสบความสำเร็จ คุณสามารถพบเครื่องมือบางส่วนได้ข้างล่างนี้ พร้อมตัวอย่างการใช้ที่ชัดเจน

การใช้แพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เรียนด้วยกันเป็นสิ่งที่จำเป็น

แพลตฟอร์มสำหรับการเรียนที่เรียกว่า „Moodle“ นี้สามารถเข้าใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้งานง่าย ตัวช่วยมากมาย  และผู้เรียนสามารถเข้าใช้งานผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้อีกด้วย นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถสร้าง „Blog“ ร่วมกัน (ตัวอย่าง tumbltr หรือ Wordpress) หรือเพจ Facebook  (ในประเทศจีนจะใช้ RenRen)

โปรแกรม Moodle มีหน้าตาอย่างไร?

ตัวอย่างหน้า Moodle จากผู้เขียน
ตัวอย่างหน้า Moodle จากผู้เขียน | ภาพของ Marion Grein
ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนคือ ฟังก์ชั่นการใช้งานที่จำเป็น ผู้ใช้งานทุกคนสามารถมองเห็นการกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้นในแพลตฟอร์มนี้ ในฟังก์ชั่นแชทผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันได้  ในขณะเดียวกันก็สามารถติดต่อกับคุณครูได้ตลอดเวลาอีกด้วย มีฟังก์ชั่นการสร้างกลุ่มเพื่อใช้ในการทำงานคู่และงานกลุ่ม ผู้เรียนสามารถอัพโหลดงานของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น โปสเตอร์ กราฟฟิก หนังสือเรียน คู่มือทำอาหาร หรืออื่นๆ และยังสามารถแสดงความคิดเห็นต่อผลงานของคนอื่นได้อีกด้วย นอกจากนั้นแล้วยังมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมห้องสำหรับการอภิปราย ห้องการบ้าน และห้องสำหรับทำงาน ที่ใช้ลิ้งค์ในการเข้าถึงได้ แทนการใช้ห้องบันทึกรวมห้องเดียว ผู้ใช้งานสามารถอัพโหลด งานเขียน รวมไปถึงไฟล์เสียงและภาพยนตร์ต่างๆได้ รูปแบบของตัวโปรแกรมเองก็สามารถปรับให้เข้ากับวัยของผู้เรียนได้

นอกจากนี้ โปรแกรม Moodle ยังมีปลั๊กอินส์ฟรี (big blue button) สำหรับการประชุมทางไกลออนไลน์ เพื่อให้การเรียนการสอนสามารถจัดขึ้นในโปรแกรม Moodle ได้ด้วย แม้ว่าโปรแกรม Zoom จะสามารถทำงานได้เสถียรมากกว่าก็ตาม
ส่วนหน้าจอสีดำจะแสดงให้เห็นภาพของผู้เข้าร่วมในห้องเรียน
ส่วนหน้าจอสีดำจะแสดงให้เห็นภาพของผู้เข้าร่วมในห้องเรียน | ภาพของ Marion Grein
หากเป็นไปได้ การเปลี่ยนมาใช้หนังสือเรียนดิจิทัลของสำนักพิมพ์จะช่วยในการเรียนการสอนอย่างมาก เนื่องจากผู้สอนสามารถแชร์หน้าที่กำลังพูดถึงผ่านหน้าจอได้ ผู้เรียนจะสามารถเห็นอยู่ตลอดเวลาว่าเรียนถึงตรงไหนแล้ว ซึ่งจะง่ายสำหรับผู้เรียนที่อาจจะไม่สันทัดกับการใช้สื่อดิจิทัลอีกด้วย

โดยทั่วไปแล้ว แนะนำให้ในกลุ่มมีผู้เรียนประมาณ 12 คน อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงมักจะไม่สามารถคงจำนวนผู้เรียนไว้เท่านี้ได้ การวางแผนการเรียนการสอนอย่างชัดเจนและมีประสิทธภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ยิ่งมีผู้เรียนมากเท่าไหร่ กิจกรรมในห้องเรียนที่นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนเสมือนจริงยิ่งสำคัญมากเท่านั้น

การวางแผนที่ว่านี้ยังขึ้นอยู่กับเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ดี ไม่แนะนำให้การเรียนการสอนภาษาเยอรมันทางออนไลน์ใช้เวลามากกว่า 4-6 ชั่วโมง เนื่องจากช่วงเวลาของการให้ความสนใจ การมีปฏิสัมพันธ์ และความสามารถในการรับบทเรียนของผู้เรียนมีจำกัด

ตัวอย่างของการเรียนการสอนภาษาเยอรมันแบบออนไลน์ในช่วงเวลา 5 ชั่วโมง มีหน้าตาอย่างไร?

ผู้เรียนลงทะเบียนเข้าห้องเรียนออนไลน์ กล่าวทักทายผู้สอน ผู้สอนอาจใช้เวลาสองสามนาทีแรกในการตอบคำถาม ต่อมาจึงจะเริ่มการสอนโดยเชื่อมโยงกับสื่อการสอนอื่นๆหลากหลาย หนังสือเรียนดิจิทัลแบบใหม่ประกอบไปด้วย ข้อความเสียง ภาพยนตร์ แบบฝึกหัดต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ในขั้นตอนสอนรวมได้  หลังจากสอนไปแล้ว 40 นาที จะเป็นการดี หากผู้สอนกระตุ้นผู้เรียนด้วยการให้ทำกิจกรรมคู่หรือกิจกรรมกลุ่ม แม้ว่าการเรียนการสอนจะถูกออกแบบมาให้มีการโต้ตอบกันมากแล้วก็ตาม ตอนนี้ผู้เรียนก็จะกลับมาใช้งานแพลตฟอร์มอีกครั้ง โดยพบกันในห้องทำงานต่างๆทั้งห้องทำงานคู่และกลุ่ม และร่วมกันทำงานจากแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนหรือทำงานจากแบบฝึกหัดที่ได้เตรียมไว้ให้ก่อนแล้วตามที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย
สิ่งสำคัญของโปรแกรมนี้คือ ผู้เรียนสามารถอัพโหลดผลงานของตัวเองลงบนแพลตฟอร์มให้ทุกคนได้เห็นได้ ตัวอย่างเช่น หากผู้เรียนได้รับการบ้านให้ทำโปสเตอร์ ผู้เรียนก็จะสามารถอัพโหลดผลงานและสามารถโชว์ผลงานในห้องได้ในภายหลัง (Screensharing) นอกจากนี้ ผู้สอนยังสามารถไปแสดงความคิดเห็นต่อผลงานของผู้เรียนได้อีกด้วย (นอกชั่วโมงเรียน)
   
10:00-10:10
Begrüßung, Austausch, Fragen klären
Plenum im virtuellen Raum
10:10-10:50
Lehrwerkbasierter Unterricht
Plenum im virtuellen Raum; Versuch alle zur Mitarbeit zu aktivieren
10:50-11:15
Partner- & Gruppenarbeiten (aus Lehrwerk)

Virtuelle Kleinräume
11:15-11:30
Präsentation der Ergebnisse

Plenum im virtuellen Raum
11:30-11:45
PAUSE
Anregung zu Bewegung
Lehrkraft steht im virtuellen Raum zur Verfügung
11:45-12:15
Lehrwerkbasierter Unterricht
Plenum im virtuellen Raum; Versuch alle zur Mitarbeit zu aktivieren
12:15-12:30
Aufgabenstellung für Partner- Gruppen­arbeiten (binnendifferenzierend) 

Plenum im virtuellen Raum
12:30-13:15
Partner- und Gruppenarbeit zur Wiederholung z.B. mit digitalen Tools

Virtuelle Kleinräume
13:15
Treffen im Plenum; Diskussion wie viel Zeit die Gruppen noch benötigen

Plenum im virtuellen Raum
13:30-14:00
Mittagspause
 
14:00-14:15
Lehrkraft wartet im virtuellen Raum, je nach weiterhin benötigter Zeit und „redet“ mit den Anwesenden
 
14:15-15:00
Lernende präsentieren Ihre Zusammenfassungen des Lernstoffs; die anderen probieren die „Aktivitäten“ der jeweils anderen Gruppen


Plenum im virtuellen Raum
15:00 
Zusammenfassung und Dank durch die Lehrkraft - Verabschiedung
 
รูปแบบของชั่วโมงการเรียน

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการยืดหยุ่นจากแผนการที่วางไว้บ้าง ในกรณีที่ผู้เรียนใช้เวลาไปกับกิจกรรมกลุ่มมากเกินกว่าที่วางแผนไว้ อย่างไรก็ตามการออกแบบขั้นตอนการทำงานกลุ่มจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะการเรียนของผู้เรียน

เครื่องมือในการออกแบบขั้นตอนการทำงานกลุ่มในห้องเรียนออนไลน์ที่มีปฏิสัมพันธ์กัน

โดยทั่วไปแล้วเราสามารถพบเครื่องมือสำหรับการทำงานกลุ่มได้มากมายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต แต่ในกรณีที่สถาบันฯนั้นๆ ไม่มีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ผู้สอนต้องพิจารณาถึงกิจกรรมอื่นๆ
 

การสร้างแบบฝึกหัดด้วยตัวเอง

ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหาจากที่เรียนได้ด้วยตัวเองจากการสร้างแบบฝึกหัดให้นักเรียนคนอื่นๆ

ตัวอย่างบทความของผู้เขียน จัดทำจากโปรแกรม learningapps https://learningapps.org/
ตัวอย่างบทความของผู้เขียน จัดทำจากโปรแกรม learningapps https://learningapps.org/ | ภาพของ Marion Grein
รูปแบบของแบบฝึกหัดที่หลากหลายทำให้ผู้เรียนสามาถทบทวนแกรมม่าหัวข้อต่างๆ หรือคำศัพท์ได้ (ตัวอย่างเช่น แบบฝึกหัดการจับคู่รูปและคำศัพท์)

แนะนำตัวเองและรวบรวมข้อมูลภายในกลุ่ม

จัดทำจากโปรแกรม Padlet https://de.padlet.com/
จัดทำจากโปรแกรม Padlet https://de.padlet.com/ | ภาพของ Marion Grein
ในงานเดี่ยวผู้ใช้สามารถตัวอย่างเช่น แนะนำตัวเอง หรือในงานกลุ่มก็สามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆได้

ทบทวนคำศัพท์โดยการสร้างเกมส์ปริศนาคำใบ้ด้วยตัวเอง

ผู้ใช้สามารถสร้างปริศนาอักษรไขว้ (Crossword) ด้วยตัวเองจากหัวข้อที่เรียน กิจกรรมนี้เหมาะกับการทำเป็นคู่

จัดทำจากเว็บไซต์ www.xwords-generator.de/de
จัดทำจากเว็บไซต์ www.xwords-generator.de/de | ภาพของ Marion Grein
คำแนะนำเพิ่มเติม:

ยิ่งผู้เรียนไม่คุ้นเคยกับการเรียนในรูปแบบนี้มากเท่าไหร่ ยิ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้การใช้เครื่องมือมากขึ้นเท่านั้น สำหรับการเรียนในกลุ่มใหญ่ ดังตัวอย่าง การเรียนที่โรงเรียน แนะนำให้มีครูผู้ดูแล 2 คน

สิ่งที่จำเป็นมากคือการจัดการฝึกอบรมให้ครูที่จะใช้เครื่องมือนี้ในการเรียนการสอน โดยจากประสบการณ์ที่ผ่านมานั้นควรจัดการอบรมแบบออนไลน์อย่างน้อย 90 นาทีต่อหนึ่งเครื่องมือ