การแข่งขัน DACHL-FUNDSTÜCK
ของที่หาได้ - การเปิดประตูเข้าสู่ประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน

สิ่งที่การ์ตูนรูปหมูป่า ป้ายรถเมล์และรองเท้าเก่าๆ มีเหมือนกันก็คือ ทั้งหมดต่างเป็นของที่เข้ารอบ 16 ชิ้นสุดท้ายของการแข่งขันหาของ DACHL  ในการแข่งขันนี้ผู้เข้ารอบจะต้องนำข้าวของต่างๆ มานำเสนอวิธีการใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาภาษาเยอรมัน

การแข่งขันหาสมบัติ DACHL จัดขึ้นตามแนวคิดในการส่งเสริมภาษาเยอรมันในระดับโลก โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า ภาพของประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน อันได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ และลีคชเทนชไตน์ (ตัวย่อคือ DACHL) ที่ทั่วโลกมองเห็นนั้น มีหลากหลายเพียงใด และในขณะเดียวกัน ก็เป็นการนำเสนอรูปแบบใหม่ ๆ สำหรับการสอนเรื่องสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับประเทศเหล่านี้ ผู้เข้ารอบทั้ง 16 คนจะนำเสนอวิธีการนำของที่หาได้ มาใช้ในชั้นเรียนภาษาเยอรมัน เพื่อสะท้อนภาพความจริงในประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน อันเป็นภาพที่หลากหลาย น่าสนใจและบางครั้งก็น่าประหลาดใจอีกด้วย
 

ข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขัน

การแข่งขันในขั้นแรกจัดขึ้นโดยตัวแทนจากประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน ต่อจากนั้น สมาพันธ์ครูสอนภาษาเยอรมันนานาชาติรับช่วงจัดการแข่งขันขั้นที่สอง ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันเกอเธ่ การแข่งขันในขั้นตอนแรกที่จบลงไปแล้ว เป็นจัดการแข่งขันระหว่างการอบรมครูที่เบอร์ลิน โดยผู้เข้ารอบทั้ง 16 คนได้นำเสนอของที่หามาได้และวิธีการที่จะนำไปใช้กับการสอน เค้าโครงการสอนเหล่านี้ได้จัดแสดงไว้ใน เวบไซต์การแข่งขัน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 เป็นต้นมา นับจากนี้จะเป็นการแข่งขันขั้นที่สอง โดยให้ครูผู้สอนภาษาเยอรมันทั่วโลก เลือกให้คะแนนทางออนไลน์แก่เค้าโครงการสอน 3 แบบที่คิดว่าน่าจะเหมาะสมกับการสอนของตนเองมากที่สุด ผู้ชนะรางวัลยอดเยี่ยม 3 คน จะได้นำเสนอผลงานของตนในการมอบรางวัลในงานประชุมครูสอนภาษาเยอรมันนานาชาติ (IDT) ในเดือนสิงหาคม 2560 ที่เมืองฟริบูร์ก สวิตเซอร์แลนด์

 

ของ Dachl ที่หาได้” คืออะไร 

  • Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung 1 Foto: © Bernhard Ludewig
    Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung
  • Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung 2 Foto: © Bernhard Ludewig
    Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung
  • Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung 3 Foto: © Bernhard Ludewig
    Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung
  • Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung 4 Foto: © Bernhard Ludewig
    Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung
  • Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung 5 Foto: © Bernhard Ludewig
    Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung
  • Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung 6 Foto: © Bernhard Ludewig
    Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung
  • Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung 7 Foto: © Bernhard Ludewig
    Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung
  • Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung 9 Foto: © Bernhard Ludewig
    Preisträgerinnen und Preisträger in der Fortbildung
ดร. ซารา เฮกิ (มหาวิทยาลัย Bergische Wuppertal) และดร. ฮันเนส ชไวเกอร์ (มหาวิทยาลัยเวียนนา) ผู้ตัดสินในการแข่งขันครั้งนี้ ได้ให้คำจำกัดความ "ของ DACHL ที่หาได้" ไว้ว่า เป็นวัตถุที่มีความเชื่อมโยงกับประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาราชการ โดยจะเชื่อมโยงกับเมือง พื้นที่ ผู้คนและชีวิตประจำวัน ภาษาและประวัติความเป็นมา ประวัติศาตร์ในอดีตหรือเรื่องราวในปัจจุบันก็ได้ ของชิ้นนี้เป็นสิ่งใดก็ได้ที่หาได้ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวของที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน ป้ายต่างๆ โปสเตอร์ คู่มือการใช้ กราฟฟิตี้ รูปปั้น ดนตรี เสียง การพูดคุยทั่วไปในชีวิตประจำวัน และอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งที่แสดงร่องรอยของภาษาเยอรมัน ประเทศและสังคมที่ใช้ภาษาเยอรมัน เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ค้นพบอยากนำมาพูดถึง ของที่หาได้นี้ เมื่อนำมาใช้ในชั่วโมงภาษาเยอรมัน จะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดทบทวนและพูดคุยอภิปรายกัน อาจทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ กับประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน ทำให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์และก้าวข้ามผ่านความเข้าใจเดิมๆ ของตนเองที่มีเกี่ยวกับประเทศเหล่านี้ได้  


จะเอาของที่หาได้มาใช้ในการสอนภาษาเยอรมันได้อย่างไร

เป็นคำถามที่เรามีต่อ อันท์เยอ รือเกอร์ วิทยากรผู้ทำการอบรมครูสอนภาษาเยอรมันจากประเทศต่าง ๆ ให้กับสถาบันเกอเธ่เป็นประจำ

Leiterin der Fortbildung im Rahmen des Wettbewerbs „DACHL-Fundstücke“ Antje Rüger Leiterin der Fortbildung im Rahmen des Wettbewerbs „DACHL-Fundstücke“ Antje Rüger | Foto: © Bernhard Ludewig ของที่หามาได้เหมาะสมกับการเรียนการสอนภาษาเยอรมันอย่างไร

ของที่หามาได้จะเป็นสิ่งที่ช่วยเปิดทางให้ผู้เรียนเข้าใกล้ภาษาเยอรมันและประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมันมากขึ้น ผู้เรียนจะหาของมาเองหรือทำแบบฝึกหัดจากของที่คนอื่นหามาก็ได้ ของที่หามานี้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งใหม่และมองมันอย่างเปิดใจไร้อคติ สิ่งใหม่ที่ไม่คุ้นเคยและก่อให้เกิดความประหลาดใจนี้จะกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม และทำให้ผู้เรียนตั้งคำถามหรือนำสิ่งที่เห็นมาคิดตามต่อไป

จะหาของได้อย่างไร

ของที่หาได้นี้มักจะเจออย่างบังเอิญ เป็นของที่เราเจอแล้วโดนใจ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นของที่เราเห็นแวบแรกแล้วจะทำให้เรายิ้มอย่างประหลาดใจเพราะมันอยู่ผิดที่ผิดทาง สิ่งนี้ทำให้เราตระหนักได้ว่า ปกติแล้วเรามีวิธีการมองโลกอย่างเป็นแบบแผน ของที่เราพบเจออาจทำให้เรามองข้ามออกมานอกกรอบ ให้เราฉุกคิดได้ว่า ไม่จำเป็นต้องจริงจังเสมอไป และมองอะไรใหม่ ๆ ในแบบสบาย ๆ ได้มากขึ้น
แน่นอนว่ามันออกจะเสี่ยงที่ผู้เรียนอาจจะไม่เข้าใจความหมายของกิจกรรมนี้ แต่วิธีการสอนที่ดีก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ของที่หาได้ควรนำมาสอนโดยเชื่อมโยงกับความรู้ด้านวัฒนธรรม ไม่ใช่การนำเสนอรูปแบบที่จำเจ (typical) แต่นำเสนอในรูปแบบของความซับซ้อนหลากหลายของวัฒนธรรมในประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น อยากค้นหาของผู้เรียนอีกด้วย
 

สำหรับการดาวน์โหลด

วิธีการใช้ของที่หาได้ในการเรียนการสอนภาษาเยอรมัน โดยอันท์เยอ รือเกอร์:

 

เป้าหมาของกิจกรรมการเรียนด้วยของที่หาได้คืออะไร

ขึ้นอยู่กับของที่หาได้และวิธีการเรียนการสอน โดยทั่วไปกิจกรรมกับของที่หาได้จะส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความคิดเหล่านี้:
  • ความรู้สึกร่วมและความอยากรู้อยากเห็นที่จะส่งเสริมการเรียนภาษาเยอรมัน
  • การตั้งคำถามและการตอบในภาษาเยอรมัน ตามประสบการณ์ส่วนบุคคล
  • การพัฒนาทักษะในการฝึกหัดภาษาต่างประเทศด้วยตนเอง
  • ความสามารถในการเรียนรู้ความหลากหลายในประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน
  • การเรียนรู้เรื่องด้านวัฒนธรรมจากหัวข้อต่าง ๆ จากการแสดงความคิดเห็นและสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีตัวอย่างประกอบ
  • การทำความเข้าใจกระบวนการคิดหาความหมาย และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการอภิปราย จากการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง เกี่ยวกับของที่หาได้
  • การเรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องสัญลักษณ์และความหมายจากของที่หาได้
การเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมของที่หาได้นี้มีความท้าทายใช่หรือไม่

ถูกต้อง บ่อยครั้งที่เพื่อนร่วมงานของฉันตั้งคำถามว่า จะหาของมาสอนจากทีอื่น นอกเหนือจากประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมันได้อย่างไร การแข่งขันครั้งนี้คือคำตอบ ว่าของ DACHL ที่หาได้นั้น มีอยู่เกือบทุกที่
บางครั้ง ความคาดหวังของผู้เรียนและผู้สอน คือความท้าทาย พวกเขาต้่องการเรียนรู้หรือแบ่งปัน "ความจริง" เกี่ยวกับประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน ซึ่งตรงกันข้ามกับหลักการทั่วไปของการนำของที่หาได้มาเป็นตัวอย่างสำหรับการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรม โดยทั่วไป การเรียนเพื่อการสอบและวัดผลมักจะเน้นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงของประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน แต่ปัญหาที่ว่า จะประเมินหรือวัดผลความรู้ด้านวัฒนธรรมในการเรียนภาษาต่างประเทศได้อย่างไร ก็ยังไม่มีคำตอบ

การเรียนการสอนที่เน้นด้านวัฒนธรรมอาจส่งผลดีต่อการอบรมและพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอน ครูจะได้แลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดเห็นเกี่ยวกับของที่หาได้และอุปกรณ์การสอน สิ่งนี้จะเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่คำตอบของคำถามข้างต้น

ควรเริ่มด้วยการตั้งคำถามกับของที่หาได้ว่า มันแปลกอย่างไร อยากจะรู้อะไรเกี่ยวกับมัน เคยเห็นอะไรคล้าย ๆ แบบนี้มาก่อนหรือไม่ และต่อด้วยการเปรียบเทียบความคิดเห็นหรือมุมมองของผู้ที่ถ่ายภาพของนั้นมาหรือผู้ที่ร่างโครงการสอนนั้นมา ซึ่งการแลกเปลี่ยนแบบนี้จะทำให้เกิดการค้นพบสิ่งใหม่ที่น่าสนใจต่อไป

 

อ้างอิง

Altmayer, Claus (Hg.) (2016): Mitreden. Diskursive Landeskunde für Deutsch als Fremd- und Zweitsprache. Stuttgart: Ernst Klett Sprachen.

Schweiger, Hannes/Hägi, Sara/Döll, Marion (2015): Landeskundliche und (kultur-)reflexive Konzepte. Impulse für die Praxis. In: Fremdsprache Deutsch. H. 52, S. 3-10.