นิทรรศการ คิม อาเซนดอร์ฟ: “ซับซ้อน” (Complex)

Kim Asendorf Retrospektive © Kim Asendorf

นิทรรศการ: 1 - 2 เมษายน เวลา 18.00 - 22.00 น.

พบปะพูดคุยกับศิลปินคิม อาเซนดอร์ฟ: 2 เมษายน เวลา 19.30 น. ที่ห้องสมุด

สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย

โดยคิม อาเซนดอร์ฟ

สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ขอเชิญชมนิทรรศการศิลปะดิจิทัลครั้งแรกที่จะพาย้อนไปชมผลงานของศิลปิน คิม อาเซนดอร์ฟ (Kim Asendorf) กับนิทรรศการ “ซับซ้อน” (Complex) ในวันที่ 1-2 เมษายน 2568 และกิจกรรมพิเศษ: ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมอง กับศิลปิน คิม อาเซนดอร์ฟ และผู้ที่ชื่นชอบในศิลปะดิจิทัล ในกิจกรรม "In Conversation" ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 1 เมษายน เวลา 19:30 น. ณ ห้องสมุดสถาบันเกอเธ่

เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา นิทรรศการได้ถูกเลื่อนออกไปเพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกฝ่ายเป็นหลัก หลังจากที่ได้ตรวจสอบด้านความปลอดภัยอย่างละเอียดที่สถาบัน เราขอยืนยันกำหนดการจัดงานนิทรรศการใหม่ภายใต้สถานการณ์ที่ปลอดภัย และเราพร้อมต้อนรับทุกท่านในเร็วๆ นี้

คิม อาเซนดอร์ฟ ถือเป็นหนึ่งในศิลปินแถวหน้าของกระแสศิลปะแบบดิจิทัลโดยการใช้โค้ดในปัจจุบัน ผลงานของเขาอยู่ที่จุดตัดของระบบภาพ อัลกอริธึม และการจัดการข้อมูล โดยเชื่อมโยงแนวคิดของ generative art , glitch art และ conceptual art  เขาเป็นที่รู้จักจากอัลกอริธึม Pixel Sorting ที่เผยแพร่ไว้บน GitHub ในปี 2010 ที่ต่อมาได้กลายเป็นแนวทางสำคัญที่หล่อหลอมศิลปะดิจิทัลในสาย glitch และ code-based ในฐานะศิลปินที่เขียนโค้ดและ blog chain contract ของตัวเอง เขาได้ขยายขอบเขตและแนวทางใหม่ๆ ให้กับศิลปะดิจิทัลอยู่เสมอ โดยมองว่าพิกเซลคือหน่วยพื้นฐานของศิลปะดิจิทัล และได้สานต่อกระแสของศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยที่ทำงานกับระบบ กระบวนการ และรูปแบบภาพที่เกิดขึ้นเอง ซึ่งรวมถึงบรรดาผู้บุกเบิกศิลปะแบบ generative art และ algorithmic art เช่น Vera Molnár, Manfred Mohr, Lillian Schwartz, Herbert W. Franke และ Frieder Nake โดยที่แนวทางของเขาอยู่ในขนบของ minimal art และ conceptual art โดยเฉพาะแนวทางที่อิงกฎเกณฑ์ กระบวนการสุ่ม และวิธีการเปิดกว้าง รวมถึงโครงสร้างเรขาคณิต รูปแบบซ้ำ (patterns) และลำดับในศิลปะ abstract และ Op-Art นอกจากนี้ เขายังเชื่อมโยงกับผลงานของศิลปินอินเทอร์เน็ตยุคแรกอย่าง JODI ซึ่งสะท้อนเครือข่ายและวัฒนธรรมดิจิทัลอีกด้วย ในกระบวนการสร้างสรรค์ของคิม อาเซนดอร์ฟ มักจะมีการผสมผสานองค์ประกอบของ ความบังเอิญ ความผิดพลาด ความแตกต่างและการทำซ้ำ สัญญาณและสัญญาณรบกวน เพื่อสำรวจเงื่อนไขของระบบสื่อร่วมสมัย โดยตั้งแต่ปี 2021 เขาได้ทำงานกับระบบภาพเคลื่อนไหวที่มีความซับซ้อน และเต็มไปด้วยจังหวะอันชวนให้หลงใหล

สำหรับนิทรรศการ "ซับซ้อน" ที่จัดขึ้นนี้ ถือเป็นนิทรรศการย้อนหลังครั้งแรกของ คิม อาเซนดอร์ฟ ที่รวบรวมผลงานสำคัญหลายชิ้นของเขาตั้งแต่ปี 2021 ถึงต้นปี 2025 และนำมาจัดแสดงทั้งในบริเวณสวนและอาคารของสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย โดยนำเสนอออกเป็น 4 ซีรีส์ ได้แก่ Monogrid (2021) ผลงานแรก ๆ ของเขาที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (blog chain) ซึ่งมีโครงสร้างกริดแบบไดนามิกที่เรียบง่าย ผสมผสานลวดลายขาวดำแบบพิกเซลที่ชวนให้นึกถึงศิลปะคอมพิวเตอร์ยุคแรก ซีรีส์นี้จะถูกนำเสนอในรูปแบบงานจัดวางศิลปะที่ผสมผสานทั้งภาพและเสียง Sabotage (2022) นำเสนอความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่าง ระเบียบและความโกลาหล โดยที่แถวขององค์ประกอบจะถูกปรับเปลี่ยนขณะ "ผู้ก่อกวน" (Saboteur) เคลื่อนย้ายพิกเซลเพื่อบิดเบือนรูปแบบกริด เส้น และไล่ระดับสีให้เกิดโครงสร้างใหม่ Alternate (2023) แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นในองค์ประกอบ การจัดวางเลเยอร์ และปฏิสัมพันธ์ของสี โดยมีกลิตช์ (Glitches) ที่เป็นจังหวะ และการบิดเบือนแบบไดนามิกเพิ่มมิติให้กับผลงาน PXL DEX (มกราคม 2025) เป็นการต่อยอด แอนิเมชันเชิงนามธรรม ของ Asendorf ไปสู่ระบบ 3D ที่หนาแน่น มีลักษณะเหมือนวัตถุทางสถาปัตยกรรม

ก่อนเปิดนิทรรศการนี้ คิม อาเซนดอร์ฟ จะมีการจัดงานเวิร์กช็อปแลกเปลี่ยนความรู้ที่สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และจะมีการจัดนิทรรศการกลุ่มของกลุ่มศิลปินที่ร่วมทำงานในโครงการนี้ต่อไปในภายหลัง

Kim Asendorf Retrospektive © Kim Asendorf

 

ประวัติของคิม อาเซนดอร์ฟ

Kim Asendorf © Kim Asendorf

คิม อาเซนดอร์ฟ (Kim Asendorf) เกิดเมื่อปีค.ศ. 1981 ณ กรุงเบรเมน ประเทศเยอรมนี เขาเริ่มต้นด้วยการฝึกอบรมด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรม และศึกษาต่อด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัย Technischen Universität Bremen และต่อยอดความรู้ด้าน Media & Social Hacking, Media Art และ Creative Coding ที่มหาวิทยาลัย Kunsthochschule Kassel

ผลงานที่ผ่านมาของ คิม อาเซนดอร์ฟ ได้รับการจัดแสดงในเทศกาลและสถาบันศิลปะทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Buffalo AKG Art Museum (นิทรรศการ Electric Op), Transmediale (เบอร์ลิน) , ZKM Karlsruhe, Eyebeam (นิวยอร์ก) , Netherlands Media Art Institute (อัมสเตอร์ดัม), Moving Image Contemporary Art Fair (ลอนดอน), Creation Gallery G8 (โตเกียว), Carroll/Fletcher (ลอนดอน), Office Impart (เบอร์ลิน), XPO Gallery (ปารีส), The Photographers’ Gallery (ลอนดอน) นอกจากนี้ ผลงานของเขายังเคยได้รับการนำเสนอในโปสการ์ดซีรีส์ของ MoMA อีกด้วย
 

ย้อนกลับ