Foundation Workshop
กิจกรรม Foundation Workshop เมื่อวันที่ 6-7 พฤจิกายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ จัดขึ้นเพื่อวางรากฐานไปสู่การอบรมบ่มเพาะในขั้นถัดไปในปี 2565 อันจะเป็นพื้นที่ให้เยาวชนได้พัฒนาโครงการด้วยตนเอง กิจกรรมที่ให้เยาวชนสร้างวิสัยทัศน์ของกลุ่มเมืองเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาพันธกิจและร่วมกันแลกเปลี่ยนว่าความคิดที่จะทำโครงการจะสามารต่อเติมเป็นวิสัยทัศน์ร่วมได้อย่างไร ส่วนที่สองของกิจกรรมเวิร์คชอปจะเป็นการเสริมสร้างทักษะผ่านการแนะนำเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้สำหรับการวางแผนและดำเนินโครงการต่อไป
กิจกรรมวันแรก การหาวิสัยทัศน์ร่วมของเมือง
แม้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เข้าร่วมในกิจกรรมสุดสัปดาห์ปฐมนิเทศ ทว่าโครงการจากทั้ง 5 ได้มีการนำเสนอครบในทุกห้องย่อยของแต่ละเมือง กิจกรรมนี้เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับเยาวชนแต่ละเมืองในการพัฒนาแนวคิดและร่วมอภิปราย
ความเข้าใจในโครงการที่แต่ละกลุ่มต้องการทำในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มเมือง
ในขั้นตอนนี้มีการใช้ Theory of Change (ToC) เป็นเครื่องมือในการสะท้อนความเข้าใจร่วมกันของสมาชิกทุกคนในเมืองต่อทิศทางและเป้าหมายของเมือง นอกจากนี้ ToC
ยังทำหน้าที่เป็นกรอบที่กำกับโครงการของแต่ละกลุ่มภายในเมืองให้ตอบสนองต่อจุดประสงค์ในภาพใหญ่ร่วมกันของเมืองอีกด้วย
การแลกเปลี่ยนในห้องย่อยของแต่ละเมืองเป็นเวลา 2 ชั่วโมงเกิดความมีชีวิตชีวาเลื่อนไหลตามจังหวะและแนวของผู้เข้าร่วม โดยการสนับสนุนจากกระบวนกรทั้งจาก
ผู้เชี่ยวชาญด้านเมืองในพื้นที่และพี่เลี้ยงจาก SYSI โดยเกิดกิจกรรมย่อยๆ เป็นหลักดังนี้
@ RTUS
Room 1: Design thinking/ co-creation process
โดย คุณจินตนา ชูพรมวงษ์ จาก Creative Economy Agency
(Public Organization), Thailand Creative & Design Center Khonkaen
นอกจาก 5 ขั้นตอนของ Design Thinking (Empathize, Define, Ideate, Prototype, Test) ที่จะนำไปสู่การหาวิธีการแก้ไขปัญหา หรือสร้างโจทย์ที่น่าสนใจใหม่ๆ แล้ว กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ก็ถือเป็นสำคัญ
ในการสร้างความเป็นเจ้าของร่วมและพร้อมที่จะผลักดันให้สิ่งที่คิดสู่ความเป็นจริง
ให้มากที่สุด ลดข้อขัดแย้ง สร้างการสื่อสารและการรับรู้
© RTUS
© RTUS
The Era of Data-driven Urbanism โดย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้
จากศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
The Era of Data-driven Urbanism โดย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ จากศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การวางแผนและการพัฒนาเมืองในปัจจุบันนั้นมีความท้าทายอย่างยิ่ง เพราะเมืองนั้นมีความเป็นพลวัติและมีความสัลบซับซ้อน
ในตัวเอง จะใช้วิธีการบริหารจัดการเมืองในลักษณะของการออกแบบวางแผน และจัดการในรูปแบบการสั่งการจากบนลงล่างได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ต้องจัดการกับความสัมพันธ์อันซับซ้อนของเครือข่าย ความรู้ และข้อมูลเมืองที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาลในเมือง ดังนั้น การบริหารจัดการเมืองนั้น ไม่สามารถสำเร็จได้เพียงเพราะมีผู้นำที่มีความสามารถ หรือแค่ใช้อำนาจในการตัดสินใจของตนเอง หากแต่ต้องการ
การต่อรองการจัดการความสัมพันธ์ของเครือข่ายและภาคส่วนต่างๆ ของสังคมในการช่วยขับเคลื่อนการบริหารจัดการเมือง เช่นเดียวกับเรื่องของการบริหารจัดการข้อมูลเมืองที่ต้องอาศัยความร่วมมือในการจัดการข้อมูลร่วม (Collective Data) อันจะนำไปสู่การสร้างปัญญาร่วม(Colective Wisdoms)ในการบริหารจัดการข้อมูลเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพืรอสร้างเมืองจากฐานความรู้ เพราะเมืองในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (economic surplus) เป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของผู้คน กิจกรรม เมืองจึงกลายเป็นพื้นที่ปะทะสังสรรค์ระหว่างผู้คน พื้นที่ ข้อมูลและความรู้ แต่แม้กระนั้นการบริหารจัดการเมืองหรือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเมืองฐานข้อมูลและความรู้ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ดังนั้น การจัดการและใช้ข้อมูลในการติดตาม ตรวจสอบ และสนับสนุนการบริหารจัดการเมืองจึงสำคัญ
© RTUS
© RTUS
Logframe และการพัฒนาแผนโครงการ โดย อ. วรงค์ นัยวินิจ
จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
เขียนข้อเสนอโครงการให้โดนใจผู้ให้ทุนด้วย Logical Framework
© RTUS
© RTUS
Design Intervention โดยอ.สุพิชชา โตวิวิชญ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สำรวจการใช้กระบวนการการออกแบบและการแทรกแซงด้วยการออกแบบในฐานะเครื่องมือสำหรับ แนวคิดการสร้างสถานที่อย่างมีส่วนร่วม
© RTUS
เรื่องเล่าผ่านพอดแคสต์ โดย คุณพัชญ์ชนก คุ้มพิทักษ์
และ คุณชนินทร เพ็ญสูตร คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรื่องเล่าผ่านพอดแคสต์ Workshop ที่จะพาทุกคนเล่าเรื่องผ่านพอดแคสต์
ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน ขอแค่มีเรื่องที่อยากเล่า ก็มาร่วมแลกเปลี่ยนใน Workshop กัน
© RTUS
Urban Design Fun(damental) เรียนรู้เมืองให้เป็นเรื่องสนุก
โดยคุณขวัญชนก คงโชคสมัย จากบริษัท ฉมา จำกัด
ชวนเยาวชนมาร่วมสะท้อนภาพเมืองตนเอง ผ่านเครื่องมือ และประสบการณ์การมองเมืองในมุมใหม่ เพื่อให้เยาวชนสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับเมืองของตนเองต่อไป
© RTUS
© RTUS
Empathizing และการปรับมุมมอง
โดยคุณอินทิรา วิทยสมบูรณ์และกลุ่มสาธารณศึกษา Feel Trip
การสร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์พัฒนาชุมชน พัฒนาท้องถิ่นนั้น ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของส่วนรวมที่มาจัดการร่วมกัน เปลี่ยนวิธีคิดจากคิดแบบตัวใครตัวมัน มาเป็นวิธีคิด หรือ มีสํานึกร่วมของความเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน เมืองที่เป็นของผู้คน เมืองที่เรามีสิทธิ มีเสรีภาพในการเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนา นับรวมผู้คนหลากหลาย เมืองที่มองเห็นหัวใจของกันและกัน
© RTUS
ในเวิร์คชอปครั้งนี้มีเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 43 คน
(เป็นชาย 15 คนและหญิง 28 คน)
กิจกรรมวันแรก การหาวิสัยทัศน์ร่วมของเมือง
แม้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เข้าร่วมในกิจกรรมสุดสัปดาห์ปฐมนิเทศ ทว่าโครงการจากทั้ง 5 ได้มีการนำเสนอครบในทุกห้องย่อยของแต่ละเมือง กิจกรรมนี้เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับเยาวชนแต่ละเมืองในการพัฒนาแนวคิดและร่วมอภิปราย
ความเข้าใจในโครงการที่แต่ละกลุ่มต้องการทำในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มเมือง
ในขั้นตอนนี้มีการใช้ Theory of Change (ToC) เป็นเครื่องมือในการสะท้อนความเข้าใจร่วมกันของสมาชิกทุกคนในเมืองต่อทิศทางและเป้าหมายของเมือง นอกจากนี้ ToC
ยังทำหน้าที่เป็นกรอบที่กำกับโครงการของแต่ละกลุ่มภายในเมืองให้ตอบสนองต่อจุดประสงค์ในภาพใหญ่ร่วมกันของเมืองอีกด้วย
การแลกเปลี่ยนในห้องย่อยของแต่ละเมืองเป็นเวลา 2 ชั่วโมงเกิดความมีชีวิตชีวาเลื่อนไหลตามจังหวะและแนวของผู้เข้าร่วม โดยการสนับสนุนจากกระบวนกรทั้งจาก
ผู้เชี่ยวชาญด้านเมืองในพื้นที่และพี่เลี้ยงจาก SYSI โดยเกิดกิจกรรมย่อยๆ เป็นหลักดังนี้
- เยาวชนแต่ละเมืองนำเสนอวิสัยทัศน์ร่วมโดยอิงจาก ToC
- วิสัยทัศน์ร่วมของเมืองที่ได้พัฒนาร่วมกันและ
- ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเสนอความคิดเห็นเพื่อร่างแผนการดำเนินงาน

วันที่สอง เวิร์คชอปเสริมทักษะและเติมความรู้
Room 1: Design thinking/ co-creation processโดย คุณจินตนา ชูพรมวงษ์ จาก Creative Economy Agency
(Public Organization), Thailand Creative & Design Center Khonkaen
นอกจาก 5 ขั้นตอนของ Design Thinking (Empathize, Define, Ideate, Prototype, Test) ที่จะนำไปสู่การหาวิธีการแก้ไขปัญหา หรือสร้างโจทย์ที่น่าสนใจใหม่ๆ แล้ว กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ก็ถือเป็นสำคัญ
ในการสร้างความเป็นเจ้าของร่วมและพร้อมที่จะผลักดันให้สิ่งที่คิดสู่ความเป็นจริง
ให้มากที่สุด ลดข้อขัดแย้ง สร้างการสื่อสารและการรับรู้


The Era of Data-driven Urbanism โดย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้
จากศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
The Era of Data-driven Urbanism โดย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ จากศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การวางแผนและการพัฒนาเมืองในปัจจุบันนั้นมีความท้าทายอย่างยิ่ง เพราะเมืองนั้นมีความเป็นพลวัติและมีความสัลบซับซ้อน
ในตัวเอง จะใช้วิธีการบริหารจัดการเมืองในลักษณะของการออกแบบวางแผน และจัดการในรูปแบบการสั่งการจากบนลงล่างได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ต้องจัดการกับความสัมพันธ์อันซับซ้อนของเครือข่าย ความรู้ และข้อมูลเมืองที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาลในเมือง ดังนั้น การบริหารจัดการเมืองนั้น ไม่สามารถสำเร็จได้เพียงเพราะมีผู้นำที่มีความสามารถ หรือแค่ใช้อำนาจในการตัดสินใจของตนเอง หากแต่ต้องการ
การต่อรองการจัดการความสัมพันธ์ของเครือข่ายและภาคส่วนต่างๆ ของสังคมในการช่วยขับเคลื่อนการบริหารจัดการเมือง เช่นเดียวกับเรื่องของการบริหารจัดการข้อมูลเมืองที่ต้องอาศัยความร่วมมือในการจัดการข้อมูลร่วม (Collective Data) อันจะนำไปสู่การสร้างปัญญาร่วม(Colective Wisdoms)ในการบริหารจัดการข้อมูลเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพืรอสร้างเมืองจากฐานความรู้ เพราะเมืองในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (economic surplus) เป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของผู้คน กิจกรรม เมืองจึงกลายเป็นพื้นที่ปะทะสังสรรค์ระหว่างผู้คน พื้นที่ ข้อมูลและความรู้ แต่แม้กระนั้นการบริหารจัดการเมืองหรือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเมืองฐานข้อมูลและความรู้ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ดังนั้น การจัดการและใช้ข้อมูลในการติดตาม ตรวจสอบ และสนับสนุนการบริหารจัดการเมืองจึงสำคัญ


Logframe และการพัฒนาแผนโครงการ โดย อ. วรงค์ นัยวินิจ
จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
เขียนข้อเสนอโครงการให้โดนใจผู้ให้ทุนด้วย Logical Framework


Design Intervention โดยอ.สุพิชชา โตวิวิชญ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สำรวจการใช้กระบวนการการออกแบบและการแทรกแซงด้วยการออกแบบในฐานะเครื่องมือสำหรับ แนวคิดการสร้างสถานที่อย่างมีส่วนร่วม

เรื่องเล่าผ่านพอดแคสต์ โดย คุณพัชญ์ชนก คุ้มพิทักษ์
และ คุณชนินทร เพ็ญสูตร คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรื่องเล่าผ่านพอดแคสต์ Workshop ที่จะพาทุกคนเล่าเรื่องผ่านพอดแคสต์
ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน ขอแค่มีเรื่องที่อยากเล่า ก็มาร่วมแลกเปลี่ยนใน Workshop กัน

Urban Design Fun(damental) เรียนรู้เมืองให้เป็นเรื่องสนุก
โดยคุณขวัญชนก คงโชคสมัย จากบริษัท ฉมา จำกัด
ชวนเยาวชนมาร่วมสะท้อนภาพเมืองตนเอง ผ่านเครื่องมือ และประสบการณ์การมองเมืองในมุมใหม่ เพื่อให้เยาวชนสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับเมืองของตนเองต่อไป


Empathizing และการปรับมุมมอง
โดยคุณอินทิรา วิทยสมบูรณ์และกลุ่มสาธารณศึกษา Feel Trip
การสร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์พัฒนาชุมชน พัฒนาท้องถิ่นนั้น ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของส่วนรวมที่มาจัดการร่วมกัน เปลี่ยนวิธีคิดจากคิดแบบตัวใครตัวมัน มาเป็นวิธีคิด หรือ มีสํานึกร่วมของความเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน เมืองที่เป็นของผู้คน เมืองที่เรามีสิทธิ มีเสรีภาพในการเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนา นับรวมผู้คนหลากหลาย เมืองที่มองเห็นหัวใจของกันและกัน

ในเวิร์คชอปครั้งนี้มีเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 43 คน
(เป็นชาย 15 คนและหญิง 28 คน)