วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564

ห้อง 1: "ความหมายชุมชน การสร้างพื้นที่ทางสังคมและพฤติกรรมมนุษย์กับการออกแบบ" โดย อ.สุพิชชา โตวิวิชญ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 © RTUS RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564
วิทยากรได้พาผู้เข้าร่วมไปทำความเข้าใจความหมาย นิยาม ของคำว่าชุมชน และอัตลักษณ์ และ explore กระบวนการสร้างพื้นที่ทางส้งคมอย่างมีส่วนร่วม ที่ใช้ความเข้าใจในบทบาทของการออกแบบที่ส่งผลต่อพฤติกรรมมนุษย์
 

ห้อง 2: "ทำเมืองให้เรื่องเล็ก ทำให้เสร็จและสนุก" อ.รวี หาญเผชิญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 © RTUS RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564
การพัฒนาที่ดีที่สุดเป็นการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยรัฐบอกวิธีดำเนินการ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ โดยอาจเริ่มจากกิจกรรมหรือโครงการเล็ก ๆ กิจกรรมที่ทำอาจทำร่วมไปกับภาคธุรกิจสร้างรายได้ด้วยได้ ความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ทำสำเร็จจะทำให้กลุ่มได้รับความเชื่อถือมากขึ้น
 

ห้อง 3: "ขบวนการเคลื่อนไหวเรื่องเมืองของผู้คน" คุณอินทิรา วิทยสมบูรณ์ จากโครงการสาธารณศึกษา/Feel Trip และคุณพรเทพ บูรณบุรีเดช

RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 © RTUS RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564
เปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาเมืองในสังคมไทยที่รัฐมองว่าเป็นหน้าที่ของตนเอง มาสู่แนวคิดการพัฒนาเมืองของภาคประชาชน ภายใต้ขบวนการเคลื่อนไหวขององค์กรเครือข่ายภาคประชาชนมากมาย ที่เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ สร้างการต่อรองและผลักดันเชิงนโยบาย

เมืองของทุกคน ไม่ใช่เพียงพื้นที่เชิงกายภาพ  แต่หมายรวมถึง ความคิด ความเชื่อ วิถีปฏิบัติที่มีต่อกัน  หมายรวมถึง ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนหลากหลาย ที่แลกเปลี่ยน แบ่งปัน สร้างสรรค์ และร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาเมือง

การออกแบบเพื่อทุกคน คนต้องมีส่วนร่วม การพัฒนาเมืองต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน ที่เห็นชัดเจน รัฐพยายามมองจุดเดียว แต่พอพัฒนาจุดเล็ก ๆ หลายจุดรวมกันก็จะกลายเป็นความเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ภาพเมืองของแต่ละคนต่างกัน แต่มีจุดร่วมบางอย่างต้องมาคุยกันเพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทาง ต้องหาตัวกลางมาช่วย รัฐอาจเป็นอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ
 

ห้อง 4: "พื้นที่สาธารณะ" คุณยศพล บุญสม และคุณขวัญชนก คงโชคสมัย จากบริษัท ฉมา จำกัด

RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 © RTUS RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564   RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 © RTUS RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564   RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 © RTUS RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564
การสร้างพื้นที่สาธารณะเพื่อทุกคน เป็นการออกแบบพื้นที่กายภาพเพื่อรองรับการใช้งานของกลุ่มคนเมืองที่มีความหลากหลายทั้งทางความสามารถและความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนในเมืองใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกและสบายมากขึ้น ทั้งในรูปแบบของการวางผังออกแบบระยะที่เหมาะสม คำนึงถึงการเข้าได้ถึงได้ทั่วถึงจากรูปแบบที่หลากหลาย การออกแบบครุภัณฑ์และองค์ประกอบอำนวยความสะดวกที่ใช้งานง่าย ยืดหยุ่นและทนทานต่อการใช้งาน การออกแบบป้ายบอกทางและสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่ายโดยไม่มีกำแพงด้านภาษา รวมไปถึงการสร้างพื้นที่กลางที่มีกิจกรรมครอบคลุมผสานการใช้งานอย่างอเนกประสงค์ของผู้คน พื้นที่สาธารณะเพื่อทุกคนสามารถสร้างสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันทลายกำแพงเแห่งความหลากหลายความสามารถทางร่างกายและวัฒนธรรม การทำความเข้าใจความต้องการ พฤติกรรมและรูปแบบของผู้ใช้งานที่หลากหลายจะช่วยให้การออกแบบตอบสนองการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความรู้สึกร่วมและเชื่อมต่อระหว่างผู้คนกับพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันและกันของผู้คนในเมืองได้)
 

ห้อง 5: "ภัยพิบัติกับชีวิตคนเมือง" อ.วรงค์ นัยวินิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 © RTUS RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564   RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 © RTUS RTUS Knowledge Market Pop-Up Sessions: วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564
ปัจจุบันภัยพิบัติเกิดขึ้นบ่อยครั้งรวมทั้งมีความรุนแรงที่มากขึ้น ภัยพิบัติเหล่านี้ส่งผลต่อวิถีชีวิตการกินการอยู่ของคนเมืองอย่างไร เราควรบริหารจัดการเชิงรุกและรับอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเชิงบวกต่อระบบนิเวศของเมือง และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เมือง

ภัยพิบัติมีทั้งภัยที่เกิดจากธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น การที่จะฟื้นฟูเมืองจากการที่เมืองได้นับภัยพิบัติต้องมีการทำข้อตกลง ความเข้าใจร่วมกัน ทั้งภาคประชาสังคมและภาครัฐเอง ต้องมีการสร้างความรู้ในสังคม รัฐไม่ควรมาครอบงำ ควรอำนวยความสะดวกหรือเป็นตัวกลางในการสร้างความเข้าใจกับภาคประชาสังคม ภัยพิบัติทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกันต้องอาศัยการจัดการที่ดี