ชีวิตในสมัยที่มนุษย์ครองโลก © Mike C. Valdivia /unsplash

ชีวิตในสมัยที่มนุษย์ครองโลก

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมรอบตัว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อโลกทั้งระบบ ตั้งแต่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศไปจนถึงความหลากหลายทางชีวภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์มีความสำคัญพอให้เราเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่า “สมัยที่มนุษย์ปกครอง” หรือสมัย Anthropocene (จากภาษากรีกโบราณ ánthropos ที่แปลว่ามนุษย์) ได้หรือไม่
 

“พวกคุณทุกคนควรจะเลิกพูดถึงสมัยโฮโลซีน เพราะยุคสมัยที่พวกเราอยู่น่าจะถือว่าเป็นสมัยที่มนุษย์ครองโลกมาตั้งนานแล้ว” นี่เป็นประโยคที่ Paul Crutzen นักเคมีด้านชั้นบรรยากาศ พูดกล่าวแทรกในการประชุมประจำปี 2000 แต่แท้จริงแล้ว นักเคมีคนดังกล่าวที่เป็นทั้งผู้รับรางวัลโนเบลและผู้ค้นพบหลุมในชั้นโอโซนกำลังรู้สึกโมโหเรื่องอะไรกันแน่

สมัยโฮโลโซนเป็นยุคสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกในช่วง 11,700 ปีก่อน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย เป็นยุคที่ภูมิอากาศมีความคงที่อย่างน่าประหลาดใจ จนทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายท่านต่างก็มีความเห็นว่า ภูมิอากาศดังกล่าวเป็นเงื่อนไขหลักที่สำคัญต่อการพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเหล่ามวลมนุษย์ แต่ยุคสมัยแห่งการพัฒนาการดังกล่าวก็น่าจะสิ้นสุดไปแล้ว ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการพัฒนาทางอุตสาหกรรม อุณหภูมิโดยเฉลี่ยก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวน่าจะมาจากการกระทำของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาทางเกษตรกรรม การเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก และการจราจรของมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน


ตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

มนุษย์เราพยายามควบคุมและกำหนดสิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นเวลาหลายพันกว่าปีมาแล้ว โดยได้เริ่มใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างแพร่หลายในช่วงการปฏิวัติอุสาหกรรมในช่วงปี 1800 แต่ตั้งแต่ช่วงปี 1950 เป็นต้นมา การกระทำของมนุษย์ได้ส่งผลกระทบต่อโลกทั้งโลกอย่างรวดเร็วในแบบที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยชั้นนำด้านยุคที่มนุษย์ครองโลกจึงสังเกตเห็นจุดเริ่มต้นของ “ยุคแห่งมนุษย์สมัย” ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20  ประกอบกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรมนุษย์ทั่วโลกซึ่งมาพร้อมกับการใช้พลังงานฟอสซิลที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจก  (CO2) เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศเช่นเดียวกัน การพัฒนาการดังกล่าวได้รับการขนานนามว่าเป็น the Great Acceleration ในภาษาอังกฤษ หรือ “ตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” ในภาษาไทย

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” ได้ในไฟล์ข้อมูลที่ชื่อ “Anthropozän” ในศูนย์กลางการศึกษาทางการเมือง (bpb)

รู้หรือไม่ว่า

1 ในพัน  | กล้วย

กล้วย pixabay.com
มีกล้วยมากมายหลากหลายพันธุ์บนโลกแต่ไม่ใช่ทุกชนิดที่เราสามารถทานได้ โดยการขยายพันธ์ุกล้วยมีการผสมข้ามพันธุ์มากกว่า 1,000 รูปแบบ แต่ส่วนใหญ่เราจะพบกล้วยพันธุ์เฉพาะเพียงพันธุ์เดียวในร้านค้าต่างๆ ในยุโรปและประเทศอเมริกา “กล้วยหอมเขียว” กล้วยพันธุ์ดังกล่าวเป็นพันธุ์ที่มีรสไม่จัดมาก โดยเกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่ตัวผลยังเป็นสีเขียวเพื่อให้ง่ายต่อการขนส่ง และสะดวกเวลานำไปขายอีกด้วย


- 57 เปอร์เซ็นต์ | นกร้องเพลง
© Max Planck Society
ประชากรสัตว์ปีกในประเทศเยอรมนีและยุโรปลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนกชนิดต่างๆ ที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรม ที่มีจำนวนลดลงอย่างน่าเป็นห่วง โดยจำนวนของคู่นกที่ผสมพันธุ์ในที่เกษตรกรรมในสหภาพยุโรปได้ลดน้องลงประมาณ 300 ล้านคู่ในระหว่างปี 1980 และปี 2010

40 ล้านตัว | ตัวเคย ตัวเคย © Helmut Corneli/ Alamy stock photo
ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นในทะเลทำให้สัตว์ทะเลต่างๆ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีโครงสร้างที่หินปูนเป็นองค์ประกอบหลัก ยกตัวอย่างเช่น ตัวอ่อนของตัวเคยซึ่งไม่สามารถสร้างเกราะไคติน จึงทำให้ไข่ตัวเคยสามารถพัฒนาการต่อไปเป็นตัวเคยสมบูรณ์ได้น้อยลงอย่างมาก โดยตัวเคยถือเป็นอาหารที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารสำหรับสิ่งมีชีวิตในทะเลเป็นจำนวนมาก เช่น ปลาวาฬสีฟ้าที่กินสัตว์พวกกุ้งกั้งปูชนิดดังกล่าวในปริมาณถึง 40 ล้านตัวต่อวัน


4300 สนามฟุตบอล | การทำลายทัศนียภาพ เหมืองถ่านลิกไนท์ © pixabay
การขุดหินลิกไนท์จะต้องขุดในเหมืองแบบเปิด ซึ่งจะต้องพื้นที่ขนาดใหญ่มากต้องถูกทำลายลงไป เหมืองถ่านลิกไนท์แบบเปิด Garzweiler ในประเทศเยอรมนีมีความกว้างขนาดเกือบ 40 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล 4,300 สนาม มีการขุดถ่านที่เหมืองดังกล่าวเป็นปริมาณถึง 40 ล้านตันต่อปี โดยตั้งแต่เริ่มต้นการขุดเหมืองจนถึงปัจจุบันทำให้ผู้คนกว่า 7,000 คนต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น


98 เปอร์เซ็นต์ | รังพลาสติก รังพลาสติก © fotogaby / iStock
สัตว์จำพวกนกมักจะสร้างรังของมันจากกิ่งไม้ เส้นใยพืชหรือสาหร่าย แต่วัสดุทำรังที่เป็นขยะก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน บนเกาะ Helgoland 89 เปอร์เซ็นต์ของรังนกทะเลปากยาว (northern gannet) ทำจากพลาสติก ซึ่งเป็นวัสดุทำรังที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อตัวนก นกแต่ละตัวอาจไปติดกับพลาสติก ไม่สามารถออกมาได้ทำให้ต้องอดอาหารตาย เพราะไม่สามารถกัดเศษพลาสติกให้ขาดออกจากกัน

29 องศา | ปะการัง แนวปะการัง © Mina Ryad / Adobe Stock
ปะการังอยู่ในจำพวกสัตว์ที่มีเข็มพิษที่เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน พวกมันจะอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับสัตว์เซลล์เดียวที่ช่วยให้หาอาหารมาให้ปะการัง และยังทำให้ปะการังมีสีสันอันหลากหลายอย่างที่เราเห็นอีกด้วย แต่เมื่อไหร่ที่น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ปะการังก็จะไล่ “ผู้เช่าบ้านเซลล์เดียว” ของตัวเองออกไป และตัวปะการังเองก็จะกลายเป็นสีขาวหรือที่เรียกว่า “การฟอกขาว” โดยในระยะยาวปะการังจพไมสามารถอยู่รอดได้ถ้าไม่มีสัตว์เซลล์เดียวมาอยู่ด้วย ปะการังจะค่อยๆ ตายและเหลือคงไว้แต่เพียงซากปูนขาว ปะการังบางชนิดจะถูก “ฟอกขาว” หากอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นถึงเพียง 29 องศาเซลเซียส


532 พันล้านตัน | น้ำแข็ง กรีนแลนด์ © Jean-Christophe Andre / Pixabay
วิกฤตการณ์โลกร้อนทำให้น้ำแข็งในประเทศกรีนแลนด์ลดลงในช่วงฤดูร้อนปี 2019 ในปริมาณ 532 พันล้านตัน ซึ่งก็ทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นประมาณ 1.5 มิลิเมตร แนวโน้มดังกล่าวไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนไปในอนาคตอันใกล้


80 เปอร์เซ็นต์ | ซากมือถือ

ในครัวเรือนประเทศเยอรมนีมีมือถือเก่าที่ไม่มีใครใช้อยู่เป็นจำนวนประมาณ 200 ล้านเครื่อง โดยในแต่ละเครื่องก็จะมีวัสดุต่างๆ ประมาณ 60 ชนิด ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ปล่อยวัสดุดังกล่าวทิ้งไว้อย่างไม่มีประโยชน์ วัสดุดังกล่าวมีทั้ง ทองแดง อลูมิเนียม ทองคำ รวมถึงโลหะหายากเช่น โคบอลต์ โวลฟราม และอื่นๆ อีกประมาณ 17 ชนิดที่ถือเป็น “แร่หายาก” ที่สำคัญ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของส่วนประกอบของโทรศัพท์เก่าสามารถทำกลับมาใช้ใหม่ได้

40 เปอร์เซ็นต์ | บ้านแมลง บ้านแมลง © pixabay
ชนิดแมลงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์บนโลกกำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ุ พวกมันกำลังสูญเสียที่อยู่อาศัย เพราะผู้คนต่างก็ขยับขยายพื้นที่เพื่อใช้ทำการเกษตร รวมถึงการสร้างที่พักและถนนใหม่อีกด้วย โดยประชากรแมลงในประเทศเยอรมันกำลังลดลงอย่างน่าใจหาย เพื่อช่วยชลอการลดลงดังกล่าว หลายคนจึงทำ “บ้านแมลง” เพื่อให้เป็นที่วางไข่ของเหล่าแมลงต่างๆ

35 เปอร์เซ็นต์ | พลาสติกขนาดอนุภาค
พลาสติกขนาดอนุภาคมีอยู่ทุกที่ อนุภาคพลาสติกมาจากหลายกิจกรรมของมนุษย์ เช่น จากการซักผ้า 35 เปอร์เซ็นต์ของพลาสติกขนาดอนุภาคในทะเลก็มาจากการซักผ้า บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากสารสังเคราะห์ที่คนทิ้งจะค่อยๆ ย่อยสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่กว่าจะย่อยสลายอย่างสมบูรณ์จะใช้เวลาถึงกว่าหลายศตวรรษ แม้แต่ในอากาศก็ยังมีพลาสติกขนาดอนุภาค โดยลมจะเป็นตัวพัดกระจายอนุภาคดังกล่าวออกไปตามที่ต่างๆ ทั่วโลก
 
© Max Planck Society
300 ปี | ปุ๋ยฟอสเฟต
หากไม่มีสารฟอสเฟตก็ไม่มีอะไรสามารถอยู่รอดได้ ไม่แม้แต่มนุษย์ พืชและสัตว์ ปุ๋ยฟอสเฟตจึงมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก มีการคาดการณ์ว่าเราจะสามารถใช้ฟอตเฟตจากแหล่งฟอสเฟตทั่วโลกได้เป็นเวลาอย่างน้อย 300 ปี เราจึงควรเริ่มคิดวิธีใช้วัสดุทางธรรมชาติที่มีวันหมดดังกล่าวอย่างไรให้ดีที่สุดตั้งแต่ปัจจุบัน


2007 | ยุงลาย ยุงลาย © gordzam / Adobe Stock
ยุงลายเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ในภูมิอากาศที่อุ่นและชื้น ภาวะโลกร้อนทำให้มันสามารถขยายพื้นที่อาศัยออกไปตามที่ใหม่ๆ ได้ ในทวีปยุโรป ยุงลายก็ได้ขยายที่อาศัยมาที่ประเทศอิตาลีแล้ว และตั้งแต่ปี 2007 ก็ขยายมาถึงประเทศเยอรมนี ยุงลายสามารถแพร่เชื้อไวรัสได้กว่า 20 ชนิด รวมถึงไวรัสที่ทำให้เราเป็นโรคไข้เลือดออกได้อีกด้วย

0,04 เปอร์เซ็น | CO2
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีอยู่ในอากาศในอัตราส่วนเพียง 0.04 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีคุณสมบัติพิเศษดังต่อไปนี้ มันเป็นก๊าซที่ปล่อยให้รังสีพระอาทิตย์ระยะสั้นผ่านเข้ามาบนโลกได้ พร้อมกับกันไม่ให้รังสีร้อนระยะยาวกลับออกไปสู่อวกาศ ทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ เราจึงเรียกก๊าซดังกล่าวว่า “ก๊าซเรือนกระจก” CO2 หรือก๊าซคาบอนไดออกไซด์จึงไม่ใช้ก๊าซเรือนกระจกเพียงสารเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญมาก
มีส่วนประกอบดังนี้ ก๊าซไนโตรเจนประมาณ 78 %  ก๊าซออกซิเจนประมาณ 21 %, สารอาร์กอน 0.93 %, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.04 %,

1.5 องศา | เนื้อสัตว์
เราสามารถทำอะไรเพื่อช่วยหยุดภาวะโลกร้อนได้ การลดทานเนื้อสัตว์ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่เกี่ยวข้องกับการลดทานเนื้อสัตว์ก็คืออุตสาหกรรมการการเลี้ยงวัว วัวเป็นสัตว์ที่ต้องกินอาหารเยอะ ซึ่งต้องมีการปลูกพืชเพื่อทำอาหารสัตว์ในพื้นที่ที่กว้างและยังต้องใช้ปุ๋ยและทรัพยากรน้ำในการปลูก นอกจากนี้ เมื่อวัวเคี้ยวเอื้อง วัวก็จะเรอออกมาซึ่งเป็นการปล่อยก๊าซมีเทนที่เป็นก๊าซเรือนกระจก

ผู้ร่วมจัดงาน

GI-Logo MPG Logo