ทำไมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) จึงสำคัญกว่าที่เคยเป็นมาในปัจจุบัน

การอ้างสิทธิ์ใต้น้ำของเต่าทะเลสีเขียวและเต่าเหยี่ยวดำบันทึกในอุทยานแห่งชาติโคโมโดและบนเกาะกิลีประเทศอินโดนีเซีย / เต่าทะเลในอุทยานแห่งชาติโคโมโดและเกาะกิลีประเทศอินโดนีเซีย | © iStock-1077092686 Aaron Bull

ปี พ.ศ. 2563 ถือเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือระดับนานาชาติ ด้วยการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ ความเท่าเทียมทางเพศและอื่นๆ นี่คือปีแห่งความมุ่งหมายที่เปี่ยมแรงบันดาลใจและการลงมือลงแรงที่สร้างจุดเปลี่ยน อันเป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 การก้าวเดินต่อจากนี้จึงถือเป็นความท้าทายกว่าที่เคยเป็นมา

ด้วยเหตุนี้ เราจึงจะเป็นที่ต้องมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กว่าที่เคยเป็นมา เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) คือแนวทางการฟื้นฟูจากวิกฤตโควิด-19 วิกฤตครั้งนี้มิได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นปัจเจก แต่มีผลเกี่ยวโยงเป็นวงกว้างกับทั้งเรื่องการละเลยต่อสิ่งแวดล้อม การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ การล่มสลายของระบบสาธารณะสุขและช่องว่างระหว่างรายรับและเพศที่กว้างขึ้น ที่จะทำให้เราทุกคนต่างถดถอยลงไป เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงมีขึ้นเพื่อช่วยผลักดันให้เราก้าวไปข้างหน้า ในขณะที่ต้องเผชิญกับปัญหาทั้งหลายเหล่านี้

การแข่งขันครั้งนี้จะนำไปสู่ชัยชนะหรือไม่

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ได้เกิดขึ้นมากมาย อัตราความยากจนและอัตราการเสียชีวิตของเด็กลดลงอย่างต่อเนื่อง[1] อัตราการเข้าเรียนก็พุ่งสูงขึ้นเช่นกันและการพัฒนาของระบบไฟฟ้าทั่วโลกก็เพิ่มขึ้นไปถึง 89 เปอร์เซ็นต์[2] เราได้บรรลุเป้าหมายต่างๆ มากขึ้นอย่างช้าๆ แต่มั่นคง กระนั้นก็ยังไม่มีหลักประกันใดที่มายืนยันว่าเราจะชนะการแข่งขันในครั้งนี้ ช่วงเวลาก่อนที่เราจะถึงจุดหมายกันในปี พ.ศ. 2573 ก็กลับเกิดวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มาสร้างความตื่นตระหนกขึ้นและทำให้เราเดินหน้าได้ช้าลงไปอีก

กระทั่งในช่วงเวลาก่อนเกิดการระบาดครั้งนี้ นักวิจัยได้คาดการณ์เอาไว้ว่า ประชากรกว่า 135 ล้านคนกำลังประสบกับความหิวโหยและปัญหาความมั่นคงทางอาหารในระดับวิกฤต และเมื่อเกิดการระบาดขึ้นก็ยิ่งผลักให้ประชาชนอีกกว่า 130 ล้านคนต้องเข้าไปสู่วังวนของปัญหาความอดอยาก[1] มาตรการปิดเมืองส่งผลกระทบต่อแรงงานถึงเกือบ 2.7 พันล้านคน หรือประมาณ 81 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานทั่วโลก โดยมีแรงงานจำนวนมากที่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากระบบประกันสังคม[2] การปิดโรงเรียนยังส่งผลต่อนักเรียนถึง 91 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก[3] โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากที่ไม่มีเทคโนโลยีมารองรับ ผู้หญิงกลายเป็นทัพหน้าในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 ในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ช่วยพยาบาลและแรงงานนอกระบบ นอกจากต้องพบกับความหวาดกลัวด้านปัญหาสุขภาพและความเป็นอยู่แล้ว พวกเขายังต้องประสบกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย



 การขาดแคลนน้ำยังคงส่งผลกระทบต่อหนึ่งในหกของประชากรโลก เด็กในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ประสบปัญหานี้ซึ่งนำไปสู่การขาดสารอาหารและปัญหาสุขภาพ การขาดแคลนน้ำยังคงส่งผลกระทบต่อหนึ่งในหกของประชากรโลก | © iStock-490824660 borgogniels


พื้นที่คุ้มครองกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นและปัญหาการสูญเสียพื้นที่ป่ากำลังลดลง แต่กระนั้นปัญหาการรุกล้ำป่าเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการล่มสลายของระบบนิเวศน์กำลังดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุว่าทุกๆ สี่เดือนจะมีโรคติดต่อใหม่ที่อุบัติขึ้นในมนุษย์และกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของโรคภัยที่อุบัติขึ้นนี้สามารถสืบย้อนไปได้ว่ามีสัตว์เป็นต้นเหตุ[1] ไวรัสโควิด-19 นี้ถือเป็นกรณีล่าสุดที้เกิดขึ้น

สร้างสิ่งใหม่ให้ดีกว่าเดิม

เราอาจจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของปี พ.ศ. 2573 ได้หลายข้อ หากเรายังคงเป็นเช่นนี้ วิถีการดำเนินชีวิตทุกอย่างตามปกติดังเดิมใช้การไม่ได้อีกต่อไป แต่ก็ยังไม่สายที่เราจะเริ่มเปลี่ยนแปลง

แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์จะส่องสว่างขึ้นได้ก็เมื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมดนั้นได้ถูกเชื่อมโยงถึงกัน การลงทุนเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งสามารถช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายอื่นๆ ได้ การฟื้นฟูจากการระบาดครั้งใหญ่และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งนี้ หากเราแก้ปัญหาด้วยแนวทางที่พิจารณาด้านสภาพอากาศและครอบคลุมด้านอื่นๆ ด้วยก็จะกลายเป็นโอกาสที่ไม่เพียงดีต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงด้านสาธารณะสุข ความยากจนและด้านอาชีพอีกด้วย


เด็ก ๆ นั่งบนบันไดในค่ายผู้ลี้ภัยลากาดิเกียประมาณ 40 กม. ทางทิศเหนือของเทสซาโลนิกิในระหว่างการเยือนของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติฟีลิปโปแกรนดิ เด็ก ๆ ในค่ายผู้ลี้ภัย Lagadikia ประมาณ 40 กม. ทางทิศเหนือของ Thessaloniki | © iStock-594946600 verve231

 

เราควรจะทำอย่างไรต่อเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อเราผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปแล้ว

 
ในการที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น การปกป้องสิ่งแวดล้อมถือเป็นหัวใจสำคัญ วิกฤตไวรัสโควิด-19 นี้เรียกได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ สุขภาพของโลกและระบบนิเวศน์นั้นเชื่อมโยงโดยตรงกับสุขภาพของเราและของเศรษฐกิจ การปกป้องและอนุรักษ์ป่าไม้ ป่าชายเลน

ชายฝั่งและสิ่งมีชีวิตทางทะเลจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้หลายข้อ ตั้งแต่การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปจนถึงการช่วยคนอีกเป็นล้านให้หลุดพ้นจากความยากจน ซึ่งเป็นสิ่งที่เร่งด่วนกว่าเรื่องใดๆ ที่เราจะต้องปรับเปลี่ยนลักษณะความสัมพันธ์ที่มีต่อธรรมชาติและตระหนักถึงทุกสิ่งที่ธรรมชาติได้ให้แก่เราในยามที่เราฟื้นฟูกันใหม่หลังวิกฤต

การเดินตามแนวทางวิทยาศาสตร์ยังเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความคลางแคลงใจในหลักฐาน ความจริงและวิทยาศาสตร์ ข้อมูลผิดๆ และทฤษฎีสมคบคิดแพร่กระจายไปได้ทั่วด้วยเพียงแค่คลิกเดียว นี่จึงเป็นงานของเหล่านักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่จะต้องเป็นผู้นำทางให้เราในวิกฤตการระบาดใหญ่ครั้งนี้และขับเคลื่อนเราไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน ไม่มีสิ่งใดที่จะมาทดแทนการออกนโยบานแบบอิงหลักฐานได้ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศได้พยายามออกมาส่งเสียงเตือนมานานแล้วว่า หากเรายังไม่ลดการปล่อยมลพิษให้ได้ถึง 7.6 เปอร์เซ็นต์ทุกๆ ปี ในอีกทศวรรษข้างหน้า[1] เราอาจจะไม่สามารถรักษาอุณหภูมิโลกให้เพิ่มสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาได้อีกต่อไป วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่กำลังค่อยๆ เคลื่อนตัวอย่างช้าๆ กำลังจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่นำไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างสุดขั้ว ภัยพิบัติและผลกระทบอื่นๆ ไปสู่ระบบสาธารณะสุข ดังเช่นการระบาดใหญ่ในครั้งนี้ บัดนี้จึงเป็นเวลาที่เราต้องลงมือทำอย่างเป็นระบบ
ปัจจัยอีกข้อในการที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนคือการเลือกอย่างชาญฉลาด ทั้งในระดับองค์กรขนาดใหญ่และระดับปัจเจก


ฝูงชนที่มีหน้ากากในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนในวันที่ 18 มีนาคม 2563 ในกรุงเทพฯประเทศไทย ฝูงชนที่มีหน้ากากในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนในกรุงเทพฯประเทศไทย | © iStock-1215697335 Tzido


เหนือสิ่งอื่นใด ความสามัคคียังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นทำหน้าที่เป็นเสมือนสิ่งเตือนใจว่า ไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปได้ หากเราไม่มีความรับผิดชอบและการร่วมมือกัน หากเราไม่มีความรับผิดชอบร่วมกันแล้ว เราอาจจะหลงลืมทิ้งเพื่อนมนุษย์อีกมากมายไว้ข้างหลัง เราจึงต้องยืนหยัดร่วมกันกับผู้คนที่ได้สูญเสียไปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่เป็นผู้หญิง เยาวชน ผู้ได้รับค่าแรงต่ำ แรงงานนอกระบบและเจ้าหน้าที่พยาบาล ผู้พิการ ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย ประชากรผู้พลัดถิ่นและชุมชนด้อยโอกาส เพื่อที่มุ่งไปยังเส้นชัยร่วมกัน

ในการบรรลุเป้าหมายทั้งหมดนี้ เราจะต้องมีความรอบรู้และอาศัยรับผิดชอบต่อของผู้มีอำนาจ เราต้องร่วมมือและสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง เราต้องทำให้เส้นทางนี้ยังคงดำเนินต่อไปสู่คนรุ่นหลังของเรา ทำให้การสื่อสารเหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไปและสร้างแรงบันดาลใจต่อกันและกันเพื่อสร้างโลกที่ดียิ่งขึ้นให้แก่มนุษย์และความรุ่งเรืองของเราทุกคน