การประเมินการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาชุมชนเมือง ผ่านกิจกรรมที่ริเริ่มโดยเยาวชนภายใต้โครงการ Rethink Urban Spaces จัดทำโดย บริษัท ฉมา

รายงานการศึกษานี้เป็นฉบับต่อเน่ืองจากรายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเยาวชนกับการพัฒนาเมืองใน 5 จังหวัดของประเทศไทย จัดทำโดย บริษัท ฉมา จำกัด เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 โดยใช้การศึกษาเปรียบเทียบจากกรณีศึกษาจากต่างประเทศและกรณีของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงคเ์พื่อติดตามผลการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาชุมชนเมืองผ่านกิจกรรมริเริ่มโดยเยาวชนภายใต้โครงการ Rethink Urban Spaces

กระบวนการศึกษาติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลรายงานการดำเนิน โครงการริเริ่มโดยเยาวชนและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้แทนเยาวชน 5 จังหวัด ที่ภายหลังจากการดำเนินกิจกรรมลุล่วงแล้ว ได้รวบรวมจัดทำการสรุปผลใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ประเด็นและจุดประสงค์การดำเนินงาน 2) รูปแบบกิจกรรมที่ดำเนินการและผลลัพธ์ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรม 4) เครือข่ายหรือระบบสนับสนุนการดำเนินงาน

จากการศึกษาพบว่าเยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในตนเองที่ได้ดำเนินโครงการสำเร็จลุล่วงและได้รับการตอบรับดีกว่าที่คาดหมายไว้ ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเมือง แม้ว่าจะต้องทดลองเรียนรู้ฝึกการบริหารโครงการด้วยตนเองภายใต้กรอบด้านการจัดการเวลาส่วนตัว ภายใต้ทักษะและงบประมาณที่มีจำกัด โดยคาดหวังว่าจะมีการต่อยอดทำซ้ำกับเยาวชนรุ่นต่อไปและอาจขยายต่อในระดับที่เด็กกว่าตนเอง เช่น มัธยมปลาย เป็นต้น โดยสรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้

1) การออกแบบกิจกรรมและตัวช้ีวัด โดยมาก เยาวชนเน้นวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการองค์ความรู้และสร้างความตระหนักรู้ในระดับสาธารณะและเยาวชน โดยเน้นการเผยแพร่ความรู้และ สถานการณ์ปัจจุบันหรืออดีตของเมืองตนเอง สะท้อนปัญหาท่ีมีร่วมกันในเมือง และจัดเวทีหรือพื้นที่รวมกลุ่มเพ่ือแลกเปล่ียนความคิดเห็นร่วมกันทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

2) ผลการตอบรับจากการจัดกิจกรรมในบางกิจกรรมสะท้อนถึงการได้รับการตอบรับอย่างดีเกินความคาดหมายของผู้ดำเนินโครงการ เช่น กิจกรรม Hat Yai connext, Hat Yai Film Fest, Inclusafe และอยู่ดี ดีไซน์ ที่เกิดการต่อยอดด้านการขยายเครือข่ายและยกระดับการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาเป็นผู้ร่วมทำงานและเป็นหุ้นส่วนของการจัดกิจกรรมต่อไปได้ อาจสรุปได้ว่าประเด็นและรูปแบบของกิจกรรมนั้นมีศักยภาพในการทำซ้าหรือขยายผลต่อเนื่อง และกลุ่มคนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าหนึ่งคร้ังอาจกลายเป็นเครือข่ายและภาคีต่อไปได้

3) นอกจากนี้ จากผลการตอบรับท่ีดี อาจนำไปสู่โอกาสด้านการขยายความร่วมมือกับภาคีส่วนอ่ืน ๆ ท่ีได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมทดลองของเยาวชน ทั้งด้านการสนับสนุนทุน การสนับสนุนบุคลากร
การสนับสนุนข้อมูล การอำนวยความสะดวก และอื่น ๆ จากหน่วยงานส่ือ หน่วยงานภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ชุมชน และสาธารณะ ให้เกิดความต่อเน่ืองของการขับเคลื่อนพลังการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเมือง

4) รวมถึงตัวเยาวชนเอง เมื่อเห็นผลงานได้รับการตอบรับท่ีดีก็ส่งผลต่อความภาคภูมิใจในตนเองที่ได้ดำเนินกิจกรรมจนสำเร็จ ได้ฝึกฝนทักษะและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้แก้ไขปัญหาหรือชี้ให้สาธารณะเห็นถึงช่องว่างของการพัฒนาเมืองอย่างท่ีตนเองตั้งใจ ได้แลกเปลี่ยนทัศนคติและพัฒนาความคิดร่วมกับกลุ่มคนที่มีความสนใจใกล้เคียงกัน ตระหนักรู้ว่าตนเองได้มีโอกาสเข้าถึงสิทธิของการมีส่วนในการพัฒนาเมือง และเกิดความหวังหรือความปรารถนาจะเห็นการพัฒนาชุมชนเมืองต่อไป

5) อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาค้นพบว่า ความท้าทายสำคัญในการจัดกิจกรรมโดยเยาวชนคือการ บริหารโครงการในด้านการจัดการเวลาส่วนตัวและเวลาทำโครงการ ทั้งส่วนที่ยังเป็นนักศึกษาและส่วนที่ประกอบอาชีพ ซ่ึงส่งผลด้านการจัดการทีมงานทั้งด้านจำนวนคนทำงาน และการทำความเข้าใจด้านความหลากหลายสาขาความรู้ความเชี่ยวชาญ ทั้งส่วนการบริหารงบประมาณในการดำเนินโครงการที่มีอย่างจำกัด

การวิเคราะห์ผลสรุปของการติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมริเริ่มโดยเยาวชนภายใต้โครงการ Rethink Urban Spaces นี้ได้จัดทำในรูปแบบข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนไทยในการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาพ้ืนท่ีเมือง ทั้งในด้านการขยายผลเชิงปริมาณและผลกระทบเชิงคุณภาพในระดับเมืองในอนาคต ใน 2 ประเด็น

1) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาชุมชนเมืองในอนาคต

1.1 ความท้าทายในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาชุมชนเมือง (Continuing the Youth Participation) เมื่อจบโครงการริทัศน์แล้ว จำเป็นต้องมีการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งความรู้และ การเขาถึงที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมือง รวมถึงงบประมาณสนับสนุน สร้างความตระหนักรู้และการสร้างกิจกรรมผสานเครือข่ายความร่วมมือต่าง ๆ อย่างต่อเน่ืองเพื่อรักษาระดับความมีส่วนร่วมของเยาวชน ที่ได้เกิดการจุดประกายขึ้นแล้วให้ยังคงอยู่ต่อไปและเกิดซ้ำขึ้นอีกได้ในอนาคต

1.2 การสร้างแนวทางปฏิบัติ ตัวชี้วัด และกรอบประเด็นการดำเนินงานร่วมกับเยาวชน (Co-creation in Guideline & Indicator & Framework Development with Youth) เพ่ือให้การวางกลยุทธ์และประเด็น ของกิจกรรมนั้นขยายผลและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อไปในระยะยาวได้ จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมนั้นไม่เพียงแต่ตอบสนองความปรารถนาของเยาวชนและผู้เก่ียวข้อง แต่สามารถนำไปขับเคลื่อนในระดับการบริหารจัดการเมืองต่อไปได้ด้วย

1.3 ความท้าทายด้านกระบวนการทำงานที่ยกระดับการมีส่วนร่วมแก่เยาวชน ในขณะเดียวกันยังมีสมดุลในการบริหารจัดการเวลาส่วนตัวได้ (A work process that enhances youth participation but also fits the work-life balance) การดำเนินโครงการพร้อม ๆ กับการเรียนหรือทำงานไปด้วย อาจทำใหเ้กิดความเหนื่อยล้าส่งผลต่อการขาดบุคลากรและทีมงานระหว่างทางได้ จึงเสนอให้มีการตั้งเป้าหมายความสำเร็จด้านการการคิดค้นทดลอง การสร้างกระบวนการทำงาน การสร้างพ้ืนที่เชื่อมต่อ การเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมความร่วมมือระหว่างการทำงานของเครือข่าย และการขยายผลความตระหนักรู้ต่อไปในกลุ่มเยาวชน ซึ่งนอกจากจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทักษะแก่เยาวชนแล้ว ยังส่งผลต่อคุณภาพของการสร้างการมีส่วนร่วมในระยะยาว

1.4 โอกาสด้านการสร้างพลังเยาวชนโดยเยาวชน (Youth Empower Youth) เยาวชนบางส่วนท่ีได้ดำเนินกิจกรรมมาแล้วน้ันเห็นว่า โครงการริทัศน์นั้นมีประโยชน์ต่อทั้งตัวบุคคลในด้านการเรียนรู้และประสบการณ์ระหว่างการทำงาน และอยากให้ถ่ายทอดต่อสู่เยาวชนรุ่นต่อไปในระดับที่อายุน้อยกว่า เช่น มัธยมปลาย เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการทดลองทำและเปิดโอกาสให้เยาวชนเข้าถึงการตระหนักรู้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเมืองของตนเอง

1.5 โอกาสด้านการเสริมความแข็งแรงของภาคีเครือข่าย (Network Strengthen) จากการรวบรวมข้อมูล ด้านการสนับสนุน พบว่าโครงการที่มีภาคีสนับสนุนน้ันจะดำเนินโครงการได้ตามเป้าสำเร็จตามตัวชี้วัดหรือมากกว่าเป้าหมายท่ีคาดการณ์ไว้ จึงควรแก่การขยายผลความร่วมมือหรือทำกิจกรรมซ้ำ หรือพัฒนากิจกรรมโครงการอื่น ๆ ร่วมกับภาคีที่ได้เริ่มก่อร่างเกิดขึ้นในประเด็นหรือในเมืองนั้นต่อไป

2 การพัฒนาระบบสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเยาวชนในระยะยาว

เพ่ือการยกระดับและสร้างความต่อเนื่องด้านการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาชุมชนเมืองในระยะยาว หน่วยงานทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐในระดับท้องถิ่น ควรจัดสรรพื้นที่โอกาสการมีส่วนร่วมการพัฒนาเมืองให้แก่เยาวชน ท้ังด้านการพัฒนานโยบายที่พร้อมรองรับข้อเสนอจากเยาวชน จัดสรรทรัพยากรที่เอื้อให้เยาวชนได้มีสิทธิร่วมในการบริหารจัดการชุมชนเมืองอย่างมีส่วนร่วมและพัฒนาเมืองในระยะยาว โดยให้เยาวชนมีส่วนร่วมในระดับที่เยาวชนเป็นผู้นำกิจกรรมหรือโครงการ ด้วยการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เข้าถึงและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเมือง 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ช่วงการวางกลยุทธ์ การวางแผนนโยบาย 2) ช่วงการวางแผนโครงการวางแผนกิจกรรมท่ีจะขยายความการมีส่วนร่วมของเยาวชน 3) ช่วงปฏิบัติการ และ 4) ช่วงติดตามรายงานการดำเนินงานและประเมินผลปฏิบัติการ

นอกจากนี้หน่วยงานด้านส่งเสริมวิชาการ สถาบันการศึกษา ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม สื่อ เอกชนหรือภาค ประชาสังคมควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมการฝึกทกัษะด้านการพัฒนาเมืองในรูปแบบที่สะท้อนความเป็นเมืองของตนเองในรูปแบบกิจกรรมสาธารณะ เพื่อทำให้ผู้อยู่อาศัยในเมืองสามารถมีพื้นที่เรียนรู้ ตระหนักรู้ถึงความสำคัญ และมีโอกาสได้สร้างสรรค์พัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชนเมืองร่วมกัน