เคล็ดลับการเรียนการสอนแบบเว้นระยะห่าง
โปรดเว้นระยะห่าง - เคล็ดลับการสอนแบบเน้นการทำงานร่วมกัน

นักเรียนสองคนกำลังนั่งโดยเว้นระยะห่างระหว่างกันในห้องเรียน โดยต่างก็ใส่หน้ากากอนามัยและทักทายกันด้วยการชนศอก
เว้นระยะห่างในห้องเรียน | © Adobe Stock

เทคนิกใหม่ภายใต้กรอบเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในการเรียนการสอนที่ต้องเว้นระยะห่างระหว่างกันและกัน โดยครูผู้สอนมีหลากหลายเทคนิกการสอนให้นำไปเลือกใช้ เราจึงขอเสนอเคล็ดลับจากหลากหลายวิธีและเทคนิกการสอนให้ผู้สอนเลือกไปใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนแบบเน้นการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การเรียนการสอนในห้องเรียนจริงในช่วงวิกฤตโรคระบาดมักจะมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ในระหว่างการสอน จะต้องใส่หน้ากากอนามัย ผู้เรียนแต่ละคนจะต้องเว้นระหว่างห่างประมาณ 1.5 เมตร และไม่ควรแบ่งหรือส่งต่อปากกา แผ่นกระดาษหรือสื่ออื่นๆ แบบมือต่อมือ เงื่อนไขดังกล่าวทำให้เราต้องตระหนักไตร่ตรองอย่างดีว่าวิธีการสอนแบบเน้นการทำงานร่วมกันวิธีใดเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้น ครูผู้สอนจีงมักตั้งตัวเองว่า สามารถออกแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนจริงให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันภายใต้เงื่อนไขช่วงวิกฤตโควิดได้อย่างไร เพราะหลากหลายวิธีการที่รู้จักต่างก็อาจจะทำให้ทุกคนรู้สึกอึดอัดในห้องที่แคบและทุกคนยังต้องเข้าใกล้กันมากขึ้นด้วย

เราจึงขอนำเสนอแนวทางการขยายพื้นที่ห้องเรียนและการประยุกต์ใช้กิจกรรมที่เน้นการโต้ตอบกันของผู้เรียนในห้องเรียนจริงภายใต้มาตรการต่างๆ ในช่วงวิกฤตโควิด ดังต่อไปนี้

Three masked students wearing school univorms are sitting on the floor in a schoolyard.
Using the school yard for a group exercise | © Adobe Stock
ในการขยายพื้นที่ห้องเรียนจริง เราขอให้คุณตกลงกับผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอนคนอื่นก่อน เพื่อให้ผู้สอนสามารถรับผิดชอบหน้าที่ดูแลผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง และเพื่อให้การดำเนินการจัดการสถานที่เป็นไปอย่างราบรื่น

ตรวจสอบประเมินและขยายพื้นที่จริงในการเรียนการสอน

ในการเรียนการสอนในห้องเรียนจริงแบบปรกติ ผู้สอนจะไม่อนุญาตให้ผู้เรียนออกจากห้องเรียนได้ เพราะโดยปรกติผู้เรียนจะไม่มีความจำเป็นในการออกนอกห้อง แต่ในช่วงวิกฤตโควิด สถานที่นอกห้องอาจจะช่วยให้ผู้เรียนรักษาระยะห่างได้
  • ผู้เรียนกลุ่มหนึ่งทำกิจกิจกรรมแบบคู่หรือแบบกลุ่มในห้องเรียน ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งทำกิจกรรมหน้าห้อง ในลักษณะเดียวกัน ครูผู้สอนอาจะให้สองกลุ่มย่อยทำกิจกรรมต่างๆ นอกห้องเรียน เช่น กิจกรรมเดินเล่นเป็นกลุ่ม กิจกรรมการสัมภาษณ์ กิจกรรมจับแผ่นคำมาเรียงเป็นประโยค กิจกรรมฝึกออกเสียงโต้ตอบ และอื่นๆ
  • ผู้เรียนและคู่ทำกิจกรรมหาที่เรียนนอกห้องเรียนภายในเวลาที่กำหนด โดยต้องเป็นที่ที่สามารถเว้นระยะห่างระหว่างกันได้ เมื่อเวลาที่กำหนดสิ้นสุดลง ให้ผู้เรียนทุกคนกลับมาที่ห้องเรียนใหม่
  • นอกจากนี้ ผู้สอนยังสามารถจัดห้องเรียนใหม่ให้ผู้เรียนรักษาระยะห่างระหว่างกันได้ ทำให้สามารถตั้งฐานกิจกรรม ที่สามารถใช้เป็นฐานกิจกรรมประจำตำแหน่งหรือแบบที่ให้ผู้เรียนสลับเปลี่ยนไปตามฐานต่างๆ อีกทั้งผู้เรียนยังสามารถทำกิจกรรมเป็นคู่ได้เป็นเวลานานในแบบที่สามารถรักษาระยะห่าง
  • และเราก็สามารถตรวจสอบประเมินสภาพและจัดพื้นที่การเรียนการสอนที่อื่นใหม่ได้ด้วยเช่นกัน เช่น สามารถนำโต๊ะเรียนมาต่อกันให้ผู้เรียนสามารถเว้นระยะห่างในระหว่างการทำงานเป็นคู่ได้ หรือสามารถให้นักเรียนสแกนคิวอาร์โค้ดที่ติดตามผนังห้องเรียนให้เข้าไปทำกิจกรรม หรือที่เชื่อมไปยังหัวข้อสำหรับการฝึกการพูดคุยสื่อสาร โดยให้ผู้เรียนทำงานออกไปเดินเล่นเป็นคู่เพื่อทำกิจกรรมโดยเว้นระยะห่างระหว่างกันและกันได้

ขยายพื้นที่การสื่อสารแบบดิจิตอล

เมื่อผู้เรียนได้มาเรียนด้วยกันในห้องเรียนจริงตามปรกติ ผู้สอนก็ควรที่จะให้ผู้เรียนได้พูดคุยสื่อสารกันแบบตัวต่อตัว ภายใต้เงื่อนการเว้นระยะห่าง เราสามารถขยายพื้นที่การสื่อสารแบบดิจิตอลเพิ่มมากขึ้นได้ เฉกเช่นเดียวกับการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้เรียนแต่ละคน โดยให้ผู้เรียนใช้สมาร์ทโฟนของตัวเองหรือแทปเล็ตทำกิจกรรมในห้องเรียน ซึ่งผู้สอนได้เตรียมไว้ให้แล้วหรือใช้สื่อดิจิตอลรูปแบบอื่น
ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมดังต่อไปนี้
  • ฝึกเขียนบทสนทนาเป็นคู่ผ่านช่องแชท
  • ฝึกพูดในบทสนทนาผ่านการส่งข้อความเสียงผ่านแอ็พ Messenger
  • ฝึกการออกเสียงเป็นคู่ผ่านแอ็พ Messenger โดยให้ออกเสียงสามคำ บันทึกและส่งข้อความเสียงไปให้คู่ทำกิจกรรม และให้คู่ของตัวเองเขียนคำเหล่านั้น พร้อมพิมพ์ตอบกลับ
  • ทำกิจกรรมกลุ่มในรูปแบบการเขียนผ่านเครื่องมือดิจิตอลอื่น เช่น Tool Oncoo เป็นตัน

Students are individually seated in a classroom and wearing face masks, each of them working on a laptop.
Appropriate technical equipment opens an array of possibilities | © Adobe Stock

ขยายพื้นที่จริงที่ไม่ใช่พื้นที่ดิจิตอล

ภายใต้เงื่อนไขการเว้นระยะห่าง อาจะเป็นเรื่องลำบากสำหรับผู้เรียนในการทำงานกลุ่ม ที่ต้องผลิตผลลัพท์ทางกิจกรรมออกมาในรูปของโปสเตอร์ บัตรคำบนแผ่นนำเสนอผลงาน หรือผลลัพท์แบบที่เห็นเป็นรูปธรรมอื่นๆ ในการเรียนการสอนในห้องจริง เราสามารถขยายพื้นที่ของห้องผ่านสื่อดิจิตอลเพื่อลดการติดต่อสื่อสารกันแบบใกล้ชิด โดยผู้เรียนสามารถออกแบบและผลิตผลลัพท์งานกลุ่มด้วยเครื่องมือดิจิตอลหรือแอ๊พพลิเคชั่นต่างๆ หรือมือถือ ให้ทุกคนเห็นภาพ
  • การรวบรวมคำศัพท์แบบแบ่งเป็นช่อง เพื่อวัดความรู้ด้านคำศัพท์ก่อนเริ่มเรียนสามารถใช้เครื่องมือ เช่น Mentimeter หรือ AnswerGarden
  • ในการทำงานกลุ่ม ผู้เรียนสามารถรวบรวมผลการทำงานผ่าน Etherpad หรือแปะผลลัพท์ดังกล่าวบนแผ่นนำเสนอแบบดิจิตอลอื่น เช่นเดียวกับกันตรวจหาแผ่นคำศัพท์ผ่านเครื่องมือ Tool Oncoo.de หรือ Padlet ได้
  • ผลิตและเสนอผลลัพท์กิจกรรมแบบเน้นการทำงานร่วมกันโดยใช้ Google Presentation
  • ออกแบบโปสเตอร์เพื่อการเรียนรู้แบบดิจิตอลได้โดยใช้แอ๊พ PicCollage เป็นต้น
  • จัดแยกหรือจัดรวมคลังคำศัพท์ในเครื่องมือเช่น Jamboard

ใช้พลังและความคิดสร้างสรรค์ในการขยายพื้นที่

ในชีวิตประจำวันและการทำงาน การใส่หน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างทำให้การพูดคุยสื่อสารเต็มไปด้วยความท้าทาย บ่อยครั้งที่เราเข้าใจสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังสื่อสารผิด และการแสดงออกบนใบหน้าที่จำกัดยังทำให้เราส่งสารที่เราตั้งใจจะสื่อได้ยากขึ้นด้วย
แต่ในขณะเดียวกัน การเรียนการสอนในห้องเรียนจริงภายใต้เงื่อนไขช่วงวิกฤตโควิดก็ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้ฝึกฝนเพื่อรับมือการความท้าทายดังกล่าวในแบบที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ได้ ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้โครงสร้างภาษา คลังคำศัพท์และการออกเสียงได้อย่างเข้มข้นมากขึ้นไปในตัว
  • ผู้เรียนได้รับโจทย์ฝึกบทสนทนาเป็นคู่ โดยให้พูดดังขึ้น
  • ผู้เรียนพูดเสียงขึ้นและทำสีหน้าและท่าทางเวลาพูดแบบเกินจริง
  • ผู้สอนให้ผู้เรียนอ่านบทความที่มีการขีดเน้นจุดเน้นและจุดหยุดพักหายใจ ให้ผู้เรียนนำจุดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการพูดจริง
  • ผู้เรียนฝึกการถามกลับเพื่อความแน่นใจผ่านการฝึกบทสนทนา โดยจะได้ฝึกใช้รูปประโยคที่ใช้ในการขอให้อีกฝ่ายทวนคำพูด พูดเสียงดังขึ้นและอื่นๆ
ในการทำกิจกรรมดังกล่าว การฝึกการฟังในสถานการณ์ต่างๆ จึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญมาก เนื่องด้วย ผู้เรียนจะฝึกการออกเสียงและฝึกอ่านปากของผู้ร่วมสนทนาได้ยากขึ้น ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการฟังเป็นพิเศษ

ในการขยายพื้นที่แบบเต็มไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนั้น เราแนะนำให้ผู้สอนกำหนดกลุ่มหรือคู่ทำกิจกรรมเองในระยะเวลาที่ถูกกำหนดไว้แล้ว เช่น หนึ่งอาทิตย์หรือตลอดเนื้อหาการเรียนการสอนเฉพาะบท เพื่อลดการเคลื่อนไหวในห้องเรียนและลดจำนวนคนในห้องสำหรับการฝึกทำกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย

นี่เป็นเพียงเคล็ดลับข้อเสนอเพียงส่วนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับสภาพเงื่อนไขของแต่ละที่ ผู้สอนสามารถคิดว่าแนวทางอื่นที่ช่วยเปิดโลกทัศน์ใหม่สำหรับการเรียนการสอนแบบเน้นการทำงานร่วมกันในแบบที่เน้นระยะห่างได้ด้วยเช่นกัน