Photo by Wout Vanackerr on Unsplash

Goethe-Institut

รางวัล

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มอบรางวัล 6 รางวัลซึ่งคัดเลือกโดยคณะผู้ตัดสินจากนานาชาติ ผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเงินรางวัลทีมละ 1,000 ยูโร และรางวัลจากคณะผู้ตัดสินเป็นเงินรางวัลมูลค่า 3,000 ยูโร
 

ผู้ชนะรางวัลปี 2565

คณะกรรมการตัดสินนานาชาติประจำปี
พ.ศ. 2565

คณะกรรมการผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการคัดเลือกประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและการสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์จากประเทศที่เข้าร่วมกว่า 30 คน จากนั้นคณะกรรมการนานาชาติซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการศึกษา การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และหัวข้อประจำปีจะเป็นผู้คัดเลือกผู้ชนะรางวัลในหกสาขา

นิค เดโอคัมโป
Science Film Festival - International Jury 2022: Nick Deocampo

ผู้สร้างภาพยนตร์ นักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ผู้สนับสนุนความรู้ด้านภาพยนตร์ ผู้ผลิต และนักเขียน
ฟิลิปปินส์

นิค เดโอคัมโป เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ นักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ และนักเขียน เป็นหนึ่งในสมาชิกของสถาบันภาพยนตร์ U.P. Film Institute ในมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ เขาได้รับทุนฟุลไบรท์ให้เข้าศึกษาระดับปริญญาโทด้านภาพยนตร์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และได้รับประกาศนียบัตรสาขาภาพยนตร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในฐานะผู้สร้างภาพยนตร์ สารคดีของเขาได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติ และได้รับทุนจาก The Nippon Foundation ในโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียในการสร้างภาพยนตร์สารคดี 6 เรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใน 5 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เขาเคยเป็นสมาชิกคณะกรรมการตัดสินภาพยนตร์นานาชาติในเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ มากมาย ในฐานะนักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ เขาได้เขียนหนังสือและบทความเกี่ยวกับภาพยนตร์ฟิลิปปินส์และเอเชีย ได้แก่ Early Cinema in Asia, Lost Films of Asia, Cine: Spanish Influences on Early Cinema in Asia, Eiga: Cinema in the Philippines during World War II เป็นต้น เขาเคยได้รับรางวัลหนังสือแห่งชาติฟิลิปปินส์ (Philippines’ National Book Award) ถึงสี่ครั้ง งานเขียนของเขาครอบคลุมหลายหัวข้อ นับตั้งแต่ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไปจนถึงความรู้ด้านภาพยนตร์ เขาเคยเป็นประธานคณะกรรมการ UNESCO Philippines Memory of the World Committee อีกด้วย

ดร. รูบี้ โรอัน-คริสโตบัล
Science Film Festival - International Jury - Dr. Ruby Roan-Cristobal

หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์ สถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (DOST)
ฟิลิปปินส์

ดร. รูบี้ โรอัน-คริสโตบัล ทำงานให้กับสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์ในตำแหน่งหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์ของแผนกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งดูแลเรื่องการส่งเสริม STEM ในกลุ่มเยาวชนฟิลิปปินส์ การวิจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงระบบการจัดการสารสนเทศ หรือ MIS ของสถาบัน เธอมีส่วนร่วมในเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ (SFF) ตั้งแต่ปี 2010 ในการพัฒนากิจกรรมทางวิทยาศาสตร์หลังการฉายภาพยนตร์และร่วมมือกับสถาบันพันธมิตรในการฉายภาพยนตร์ที่ได้รับเลือก ดร. รูบี้ โรอัน-คริสโตบัล เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญ เป็นทั้งผู้ลงมือปฏิบัติในการวิจัย เป็นทั้งผู้จัดการฝ่ายไอที และยังเป็นผู้ประกาศข่าววิทยาศาสตร์ เธอจัดรายการวิทยุรายสัปดาห์ที่ส่งเสริมเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับสาธารณชนทั่วไป โดยนำเสนอข่าวสารเรื่องวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฟิลิปปินส์ เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในท้องถิ่น รูปแบบการศึกษา นักเรียนที่เก่งด้าน STEM และเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์อื่นๆ ภูมิหลังทางการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและการสื่อสารของเธอถือเป็นพื้นฐานที่ดีในการพัฒนารายการที่จะดึงดูดให้เยาวชนสนใจพิจารณาสาขา STEM เพื่อเป็นอาชีพในอนาคต ทั้งรายการการแข่งขันสร้างภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ วิทยาการหุ่นยนต์และโครงการด้านเทคโนโลยีอื่นๆ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บนมือถือ ออนไลน์ และสื่อ ปัจจุบันเธอเป็นสมาชิกคณะกรรมการมูลนิธิ Probe Media Foundation Inc. (PMFI) และ Philippine Society of Youth Science Clubs (PSYSC), Inc. และเป็นอดีตผู้อำนวยการบริหารสมาคมนักข่าววิทยาศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PSciJourn)

ทีน่า ครือเกอร์
Science Film Festival - International Jury - Tina Krüger

ผู้สร้างภาพยนตร์ นักมานุษยวิทยา นักถ่ายภาพ และนักออกแบบการสื่อสาร
เยอรมนี/โมซัมบิก

ทีน่า ครือเกอร์ จากเมืองคาเทมีนประเทศเยอรมนี เป็นศิลปินหลากหลายสาขา ช่างถ่ายภาพ ผู้สร้างภาพยนตร์สารคดี และเป็นนักออกแบบการสื่อสารที่จบปริญญาโทสาขามานุษยวิทยาทัศนศิลป์ (Leiden University ประเทศเนเธอร์แลนด์) นับตั้งแต่ปี 2008 เธออาศัยและทำงานอยู่ในเมืองมาปูโตประเทศโมซัมบิก เธอได้จัดแสดงผลงานในโมซัมบิกและต่างประเทศ ผลงานที่โดดเด่นคือภาพวาดชุด 'Uncondition Bodies' ที่งาน Joburg Art Fair 2020 และ 'Motherhood' ซึ่งเป็นนิทรรศการภาพถ่ายถาวรในแผนกสูติกรรมของโรงพยาบาล Maputo Central Hospital ภาพยนตร์สารคดีและงานวิดีโออาร์ตของเธอได้รับรางวัลมากมายจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ปัจจุบันผลงานของเธอมุ่งเน้นไปที่คำถามเกี่ยวกับร่างกาย ความรู้ที่จับต้องได้ และการสังเกตสังคมและตนเองอย่างมีวิจารณญาณ เธอทำงานเกี่ยวกับการถ่ายภาพ วิดีโออาร์ต กวีนิพนธ์ จิตรกรรม และศิลปะจัดวาง นอกจากนี้ยังทดลองใช้เทคนิคใหม่ๆ อยู่เสมอ เธอมองว่าการทำงานศิลปะคือวิธีการประมวลผลความคิดและแสดงออกโดยกระตุ้นให้ผู้อื่นได้คิดไตร่ตรองและคิดเชิงวิพากษ์ เธอเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ Aguacheiro Design & Multimédia ตั้งแต่ปี 2013 และเคยเป็นอาจารย์ด้านการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และวิดีโออาร์ตในหลักสูตร BA Film & Multimedia ที่ Arts and Culture University ในมาปูโตเป็นเวลาสองปี (2017-2018) และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการของ Emptyroom.art ซึ่งเป็นพื้นที่แสดงงานศิลปะระดับนานาชาติในมาปูโตตั้งแต่ปี 2019

โยชิดะ เมนน
Science Film Festival - International Jury - Yoshida Menon

ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาอิสระ
อินเดีย

โยชิดะ เมนน เป็นนักการศึกษาอิสระที่เชื่อในการทำให้วิทยาศาสตร์มีความเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมและเข้าถึงได้ในกลุ่มเด็กๆ ในขณะเดียวกันก็พยายามเชื่อมต่อกับภาพรวมของโลกที่ยั่งยืน เธอจบศึกษาปริญญาโทในสาขาฟิสิกส์และทำงานเป็นนักวิเคราะห์ซอฟต์แวร์ ทำหน้าที่พัฒนาและปรับใช้โซลูชันซัพพลายเชนในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเป็นเวลาถึง 10 ปี หลังจากนั้นเธอก็ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาในโรงเรียน ทำการสอนเรื่องวิทยาการคอมพิวเตอร์และร่วมมือกับโรงเรียนต่างๆ ทั่วโลกโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือของโรงเรียนทั่วโลก เธอมีความกระตือรือร้นในการเสริมทักษะให้กับนักเรียนยุคปัจจุบันเพื่อยกระดับชีวิตของพวกเขาและนำวิถีชีวิตที่ยั่งยืนมาใช้ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เธอได้ทำงานร่วมกับโรงเรียน องค์กรไม่แสวงกำไรและสถาบันต่างๆ ในโครงการการศึกษาเพื่อความยั่งยืนซึ่งได้รวมผู้เชี่ยวชาญในรายวิชา ครู นักเรียนและชุมชนท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน เธอยังเคยทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศในโครงการสำหรับเด็กนักเรียนที่มุ่งพัฒนาทัศนคติในการให้ความเคารพ ความสามารถในการเปิดใจและมีส่วนร่วมในการสนทนาเพื่อหาทางแก้ไขข้อขัดแย้ง