„beuys on/off“
บอยส์เปิด บอยส์ปิด
![ภาพแบนเนอร์ของโปรเจ็คท์ „beuys on/off“” ภาพวาด (บางส่วน): © Goethe-Institut Tokyo/ Dainippon Type Organization ภาพแบนเนอร์ของโปรเจ็คท์ „beuys on/off“”](/resources/files/png97/banner_beuys_querformat-formatkey-png-w320m.png)
ในปีค.ศ. 1984 โยเซฟ บอยส์ได้เดินทางไปยังกรุงโตเกียว การรวมโลกในอุดมคติจากยุโรปและเอเชียหรือ “ยูเรเซีย” ได้สร้างจุดเชื่อมโยงสำคัญของการทำงานศิลปะแก่เขา ในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาลของเขา ทางสถาบันเกอเธ่ โตเกียวจึงได้จัดงาน „beuys on/off“ ขึ้น
ผลงานของบอยส์ด้านจินตนาการเกี่ยวกับการรวมให้เกิดยูเรเซียมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 บอยส์ได้เน้นย้ำคำว่า “ยูเรเซีย” – การรวมตัวของยุโรปและเอเชียอันจะแก้ปัญหาคู่ตรงข้ามระหว่างตะวันตกและตะวันออกให้หายไป ระหว่างการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในปีค.ศ. 1984 บอยส์ได้ร่วมอภิปรายกับนักศึกษาชาวญี่ปุ่น และจัดการแสดงร่วมกับแพคนัมจุน นักประพันธ์ชาวเกาหลีใต้ „beuys on/off“ เป็นการโต้ตอบต่อโยเซฟ บอยส์จากมุมมอง “ยูเรเซีย” - ศิลปิน นักกิจกรรม นักปฏิบัติและนักวิชาการจะได้มาถกเถียงและวิพากษ์กันเกี่ยวกับบอยส์
“จะเป็นอย่างไร หากโยเซฟ บอยส์มีชีวิตอยู่ในยุคอินเทอร์เน็ต” ระหว่างบทสนทนาเปิดรายการในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2021 ทุกสายตามุ่งไปที่การตั้งคำถามนี้ ในการนี้ผู้อำนวยการศิลปะมิซุกิ ทากาฮาชิจะมาพบกับโดมินิก เฉิน ศาสตราจารย์ผู้โด่งดังจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ, ซากิโกะ ซูกาวา ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์แรงงานผู้ดูแล, ศิลปินหญิงอย่าง กุลนารา คาสมาลีวาและมูรัทเบค จูมาเลียฟ, ชเวแทยุน ศิลปิน นักการศึกษาและผู้ร่วมก่อตั้ง „School for Poetic Computation“ และมาจองยอนนักวิชาการด้านภาพยนตร์และสื่อ นอกจากนี้ยังมี ดีเจ สนิฟ นักดนตรีและภัณฑารักษ์ผู้นำเสนอแต่ละส่วนของโปรเจ็คท์ „beuys on/off“ อีกด้วย
กิจกรรมจะจัดขึ้นในวันที่ 4 เมษายน ตั้งแต่เวลา 10:00 น. (CET) เป็นการไลฟ์สตรีมผ่านเพจเฟซบุคและช่องยูทูปของสถาบันเกอเธ่ โตเกียว