ภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ
ร้านกาแฟภาษาเยอรมัน (Das Deutsch-Café) กิจกรรมทางภาษาแบบใหม่สำหรับผู้เรียนและผู้สอนภาษาเยอรมัน

โลโก้ กิจกรรมร้านกาแฟภาษาเยอรมัน
กิจกรรมร้านกาแฟภาษาเยอรมันเปิดโอกาสให้ผูู้เรียนและผู้สอนภาษาเยอรมันได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน | ภาพประกอบ © สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย

เหมือนกับการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว กิจกรรมร้านกาแฟภาษาเยอรมันเปิดโอกาสให้นักเรียนไทยได้ฝึกภาษาเยอรมันในชีวิตประจำวัน ในขณะที่นักศึกษาภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศก็ได้ฝึกการสอน และกิจกรรมดังกล่าวยังเป็นการประชาสัมพันธ์ภาษาเยอรมันและการสร้างเครือข่ายอีกด้วย

สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทยได้จัดกิจกรรมร้านกาแฟภาษาเยอรมันตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบใหม่ เพื่อให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนภาษาเยอรมันได้พบปะกัน โดยมีแนวความคิดดังต่อไปนี้ เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือนครึ่งมาแล้ว ที่นักเรียนไทย นักศึกษาภาควิชาเยอรมันศึกษา และนักศึกษาวิชาภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศจากประเทศเยอรมนี ต่างพบปะกันเป็นประจำทุกอาทิตย์ในรูปแบบดิจิตอล เพื่อร่วมพูดคุยเป็นภาษาเยอรมัน
Students from an online course look at a table ส่วนหนึ่งของภาพถ่าย: © สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นสำหรับนักเรียนที่มีระดับทางภาษาในระดับ A1/A2 และถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับนักศึกษาีในการฝึกการสอนภาษาอีกด้วย โดยผู้เข้าร่วมทั้งสองกลุ่มจะจับคู่เรียนตัวต่อตัว เพื่อร่วมกันเตรียมชั่วโมงการสนทนาประจำสัปดาห์ในหัวข้อเฉพาะ ในขณะที่ผู้สอนที่มีประสบการณ์จะคอยติดตามและสนับสนุนการเตรียมการเรียนการสอน พร้อมทั้งให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ทั้งในระหว่างและหลังชั่วโมงการสอนในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ นักศึกษาไทยจะได้ศึกษาวิชาการสอนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศเบื้องต้นในช่วงเริ่มต้นโครงการ เพราะภาควิชาเยอรมันศึกษาทั้งในไทยและเยอรมนีต่างก็มีเนื้อหาภาควิชาที่ไม่เหมือนกัน คุณเยิร์ก คลินเนอร์ หัวหน้าแผนกภาษาและวิชาการ สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพ ได้กล่าวว่า “ภาควิชาเยอรมันศึกษาในประเทศไทยไม่ได้เน้นการถ่ายทอดภาษาเยอรมัน แต่จะเน้นไปในด้านการใช้ภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสาร” 

สรุปภาพรวมกิจกรรมในช่วงแรก

คุณธนรัตน์ ดิตถ์วัชรไพศาล ติวเตอร์ผู้ดำเนินกิจกรรมร้านกาแฟภาษาเยอรมัน รู้สึกพอใจมากกับการทำงานร่วมกันแบบทางไกลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และระบุต่อว่า “ถึงแม้ว่าทุกคนต่างก็มาจากมหาวิทยาลัยแต่ละที่ และไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่ผู้เข้าร่วมทุกคนก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดี โดยไม่ต้องเดินทางมาพบปะกันโดยตรง”
Students from an online course look at a map of Germany. ส่วนหนึ่งของภาพถ่าย: © สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ผู้จัดกิจกรรมได้สังเกตเห็นพัฒนาการการเรียนรู้ของเหล่านักศึกษาเป็นอย่างไรบ้าง คุณวรรณวิศา สุขมาก อาจารย์สอนภาษา ได้ออกความเห็นว่า “ดิฉันมั่นใจว่า การเตรียมการสอนและการปรึกษาพูดคุยทั้งก่อนและหลังการสอนเป็นกลุ่มใหญ่จะช่วยให้ทุกคนยินดีรับฟังและเปิดรับความเห็นที่หลากหลายได้อย่างมาก” “นักศึกษาสามารถฝึกการออกความคิดเห็นอย่างเป็นระบบ และสามารถสังเกตการเรียนการสอนของตนเองจากมุมมองที่ต่างออกไป”


นอกจากความสามารถในการแก้ปัญหาแล้ว ความสมดุลระหว่างการเตรียมการสอนล่วงหน้าและการสอนแบบทันทีทันใด ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้เพื่อหาจุดสมดุลดังกล่าวตามความคิดเห็นของหนึ่งนักศึกษาในกลุ่มนักศึกษาดังต่อไปนี้ “ผมเชื่อมาตลอดว่า การวางแผนการเรียนการสอนในทุกขั้นตอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ไม่ใช่ทุกอย่างในชั่วโมงการสอนจะเป็นไปตามแผน โดยเฉพาะในเรื่องของการแบ่งเวลาและการร่วมทำกิจกรรมพร้อมกับนักเรียน” และก็เป็นเรื่องน่ายินดี ที่สิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผนนั้นกลับเป็นเรื่องดีเสียอีก “บ่อยครั้งที่ฉันรู้สึกประหลาดใจ เวลาพบว่าความสามารถทางภาษาทางการรับรู้ของเหล่านักเรียนในแต่ละระดับภาษา รวมถึงระดับ A2 พัฒนาไปมากกว่าที่ฉันคาดการณ์ไว้ตอนต้น โดยเฉพาะความสามารถที่เกี่ยวกับความเข้าใจการอ่านบทความ ” จริงๆ แล้ว บ่อยครั้งที่ครูผู้สอนสามารถเชื่อและมั่นใจในศักยภาพของนักเรียนมากกว่าที่คาดไว้ตามปรกติ
Schüler aus einem Online-Kurs arbeiten an einer Übung. ส่วนหนึ่งของภาพถ่าย: © สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย เยิร์ก คลินเนอร์ ระบุต่อว่า “ยิ่งเราดำเนินและพัฒนาโปรเจคดังกล่าวมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งค้นพบว่าตัวโปรเจคยังมีอีกหลายแง่มุมและเราสามารถพัฒนาศักยภาพของโปรเจคในอีกในหลากหลายด้าน เช่น ประสบการณ์การสอนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์อาชีพการสอนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศทั้งในไทยและเยอรมนี การถ่ายทอดด้านภาษาเยอรมันให้แก่ทั้งผู้สนใจระดับนักเรียนและนักศึกษา การสื่อสารทางภาษาผ่านการร่วมทำกิจกรรมกับเจ้าของภาษา และยังไม่รวมถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม” เป็นโปรเจคที่ยิงนัดเดียวได้นกหลายตัวเลยทีเดียว เราพร้อมแล้วที่จะขยายและพัฒนากิจกรรมร้านกาแฟภาษาเยอรมันต่อไป 
 

จุดประสงค์การเรียนรู้หลักของกิจกรรมร้านกาแฟภาษาเยอรมัน

สำหรับกลุ่มนักเรียน

  • การสนทนาในระดับ A1 และ A2 
  • การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่เป็นเจ้าของภาษาเยอรมัน (รวมถึงผู้พูดที่มีความสามารถทางภาษาเยอรมันในระดับสูงในประเทศเยอรมนี) 
  • การติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาชาวไทยจากภาควิชาเยอรมันศึกษาในต่างประเทศ
สำหรับกลุ่มนักศึกษาภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศในประเทศไทย
  • การใช้ภาษาเยอรมัน 
  • การทำความรู้จักการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศผ่านการสนทนา
  • การสร้างเครือข่ายกับกลุ่มนักศึกษาสาขาภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศในประเทศเยอรมนี
สำหรับกลุ่มนักศึกษาภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศในประเทศเยอรมนี
  • การสร้างเครือข่ายกับนักศึกษาชาวไทยจากภาควิชาเยอรมันศึกษาในต่างประเทศ 
  • การทำความรู้จักนักเรียนชาวไทยที่เรียนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ 
  • การพัฒนาต่อยอดความสามารถต่างๆ ที่สำคัญสำหรับการเรียนการสอนภาษา และการเก็บรวบรวมประสบการณ์การเรียนการสอน (ตามหลักการของสถาบันเกอเธ่)