ปุ่มลัด:

ไปที่เนื้อหาโดยตรง(Alt 1) ข้ามไปยังเนวิเกชั่นหลัก (Alt 2)

เฉลิมฉลองครบรอบ
60 ปีของสถาบันเกอเธ่ประเทศไทย

สถาบันเกอเธ่ ก่อตั้งและดำเนินงานมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเยอรมัน - ไทย
โดยในปีค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) นี้ เป็นวาระครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้งสถาบันในประเทศไทย เราจึงขอเฉลิมฉลองกับพันธมิตรของเรา พร้อมไปกับวางรากฐานที่ยั่งยืนให้กับอนาคต
 

Logo Jubiläum© Goethe-Institut

สารจากผู้อำนวยการ

"สถาบันเกอเธ่แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่เพียงมีอดีตที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมายเท่านั้น แต่ได้สร้างการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่เอาไว้อีกด้วย จากองค์กรที่บริหารงานเพียงคนเดียวได้ค่อยๆ กลายเป็นหนึ่งในสถาบันเกอเธ่ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในเวลาต่อมา"
 


ย้อนรอยสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย


บทความจากพันธมิตร

Umgang mit Völkern: Thailänder

เขียนโดยดร. เคลาส์ นอยเซอร์
Umgang mit Völkern: Thailänder - การสังเกตการณ์จากปี พ.ศ. 2502

สถาบันการต่างประเทศได้เขียนถึง “ชาวไทย” ไว้ว่าอย่างไรในปีค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) ดร. เคลาส์ นอยเซอร์ เดินทางมายังประเทศไทยในฐานะอาจารย์ตั้งแต่ปีค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ได้เขียนเป็นภาษาเยอรมันในสิ่งที่เขาได้สังเกตเห็นเกี่ยวกับ ประเทศ ศาสนา วัฒนธรรม และภาษาไทยไว้เป็นจำนวน 50 หน้า นอกจากเขาจะพูดถึง “สนุก” และ “ไม่เป็นไร” แล้วเขายังสะท้อนถึงตัวตนของเขาในฐานะคนเยอรมันในสายตาของชาวไทยอีกด้วย

รอยรำลึกเยอรมันในกรุงเทพฯ และรอยรำลึกไทยในเยอรมัน ©Goethe-Institut Thailand

เขียนโดยมาร์ติน ชัค์ท
รอยรำลึกเยอรมันในกรุงเทพฯ และรอยรำลึกไทยในเยอรมัน

เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย จึงตั้งปณิธานไว้ว่าจะแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับร่องรอยทางประวัติศาสตร์ไทยและเยอรมันที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งบุคคลสำคัญของทั้งสองประเทศให้เป็นประจักษ์มากยิ่งขึ้น เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้จุลสารออนไลน์ฉบับนี้ เปิดฉากการเดินชมเมืองและนำท่านเข้าสู่ “รอยรำลึกเยอรมันในกรุงเทพฯ และรอยรำลึกไทยในเยอรมัน” ซึ่งเราได้รับเกียรติจากบุคลากรด้านสื่อผู้ใช้ชีวิตทั้งในกรุงเบอร์ลินและกรุงเทพฯ อย่างมาร์ติน ชัคท์ มาเป็นผู้เขียน เขาจะพาเราไปสัมผัสกับสถานที่อันทรงคุณค่าในฐานะหลักฐานสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย-เยอรมัน ที่เปลี่ยนแปลงมาตามยุคสมัยต่างๆ
 


ไฮไลท์ในปีครบรอบ

Deutsche Spuren GI Thailand Main banner © Goethe-Institut Thailand

นิทรรศการภาพถ่ายและเปิดตัวหนังสือ
ร่องรอยเยอรมันในกรุงเทพฯ ร่องรอยประเทศไทยในเบอร์ลิน

ภาพถ่ายโดยช่างภาพเยอรมันสองท่าน ได้แก่ ราล์ฟ โทเท่นและวอล์ฟกัง เบลวิงเคิล เชิญชวนให้ผู้ชมเข้ามาค้นพบ(ความหมายใหม่)ของร่องรอยบนถนนในกรุงเทพฯ หรือเบอร์ลินด้วยตัวของคุณเอง