กุลยุทธ์การเรียนรู้และการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
กุลยุทธ์การเรียนรู้ทำให้คุณเรียนได้เร็วและเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น

กระดานหมากรุก
เราไม่ได้ใช้กลยุทธ์ในการเล่นหมากรุกเพียงอย่างเดียว | Photo (detail): © bizoo_n - Fotolia.com

กลยุทธ์การเรียนรู้เป็นตัวช่วยที่สำคัญในการวางแผนและพัฒนาทักษะการเรียนภาษาต่างประเทศ โดยการฝึกทดสอบกลยุทธ์ต่างๆ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตัวเองได้มากขึ้น เราได้รวบรวมคำแนะนำและแนวการสอนเกี่ยวกับกลยุทธ์ดังกล่าวให้คุณได้ทดลองใช้ในบทความบทนี้

 

การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองถือเป็นวัตถุประสงค์หลักของการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและการให้ผู้เรียนลองใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ต่างๆ ก็ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้วัตถุประสงค์ดังกล่าวบรรลุผล กลยุทธ์การเรียนรู้เป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับความรู้ใหม่ๆ รวมถึงช่วยในการพัฒนาและกำหนดทิศทางการเรียนภาษาต่างประเทศของตัวผู้เรียนในทุกๆ ด้านได้อีกด้วย โดยผู้เรียนจะสามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับการเรียนและการใช้ภาษาต่างประเทศได้ ในปัจจุบัน มีการทำวิจัยและได้สรุปออกมาว่า ยุทธวิธีการเรียนรู้ต่างๆ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเพิ่มศักยภาพการเรียนและการทำงานในห้องได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่การรู้จักกลยุทธ์หลายกลยุทธ์ หากแต่เป็นการรู้จักใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะกับสถานการณ์ของตัวผู้เรียน

ตัวอย่างกลยุทธ์การเรียนรู้ต่างๆ

การอ่านบทความภาษาต่างประเทศอาจเป็นอุปสรรคสำหรับผู้เรียนภาษาหลายคนยกตัวอย่าง เช่น การหาความหมายคำศัพท์ที่ไม่เข้าใจ ซึ่งผู้เรียนสามารถทายความหมายศัพท์จากบริบทหรือเนื้อหาของบทความ พร้อมกับการหาศัพท์นั้นๆ ในพจนานุกรมสองภาษาและปรึกษากับเพื่อนที่เรียนด้วยกันได้ เราจะสังเกตเห็นว่าผู้เรียนมักจะใช้เพียงหนึ่งหรือหลายกลยุทธ์พร้อมๆ กันในการหาความหมายคำศัพท์ แต่ผู้เรียนก็ควรที่จะคำนึงถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่มีผลต่อการเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะกับตัวการเรียนของแต่ละคนด้วย

เราสามารถยกการทายศัพท์จากตัวบริบทเป็นตัวอย่าง โดยบทความดังกล่าวจะต้องมีเนื้อหาที่เพียงพอสำหรับการทายความหมายของคำศัพท์ดังกล่าวได้ และผู้เรียนยังต้องมีพื้นฐานด้านภาษาอยู่ในระดับที่เพียงพอในการเข้าใจเนื้อหาโดยรวมของบทความ นอกจากนี้ ผู้เรียนควรจะต้องมีตัวช่วยต่างๆ ที่ช่วยตรวจสอบว่าผู้เรียนเข้าใจตัวบทความอย่างแท้จริง เช่นการหาศัพท์ในพจนานุกรมที่นอกจากจะช่วยให้จะช่วยฝึกทักษะการใช้พจนานุกรมแล้ว ยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถฝึกหาความหมายของศัพท์ที่ตรงกับบริบทของบทความได้อีกด้วย ในจุดนี้การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญและมีประโยชน์มาก โดยผู้เรียนแต่ละคนจะต้องมีทักษะทางภาษาเป็นพื้นฐานในระดับหนึ่งมาก่อน

 
การใช้พจนานุกรมร่วมกัน การใช้พจนานุกรมร่วมกัน | Photo (detail): © Bernhard Ludewig - Goethe-Institut

การจำแนกกลยุทธ์การเรียนรู้

ตัวอย่างข้างต้นทำให้เราสามารถจำแนกกลยุทธ์การเรียนรู้ได้เป็นสามแบบได้แก่ 1. แบบเน้นกระบวนการคิดเชิงปริมาณ โดยผู้เรียนจะมีการวางแผนเช่น การเลือกกลยุทธ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม การตรวจสอบเช่นการตรวจว่าความหมายของคำศัพท์ที่เจอในพจนานุกรมนั้นเข้ากับตัวเนื้อหาของบทความหรือไม่ และการประเมินผลกระบวนการเรียนรู้เช่นการประเมินผลแบบทดสอบในช่วงท้าย 2. แบบเน้นกระกวนการคิดทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้เรียนใช้กลยุทธ์อย่างใดอย่างหนึ่งในการทำแบบฝึกหัดโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น การทายความหมายศัพท์จากบริบท การขีดเน้นข้อความที่สำคัญในบทความ การย้อนคำนึงถึงความรู้ทั่วไปหรือที่เรารู้อยู่แล้วเพื่อเข้าใจบทความที่อ่าน การใช้พจนานุกรมหรือการเขียนสรุปความ 3. แบบเน้นทักษะทางสังคมและอารมณ์ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ผู้เรียนพยายามทำแบบฝึกหัดเป็นกลุ่มหรือพยายามเข้าใจความคิดเห็นของผู้เรียนอื่นๆ ในกลุ่ม (กลยุทธ์ทางสังคม) หรือเวลาที่ผู้เรียนพยายามควบคุมความรู้สึกในแง่ลบของตัวเองเช่น ความกลัว ความหงุดหงิดหรือความท้อแท้ในการเรียน (กลยุทธ์ทางอารมณ์)

4 ขั้นตอนการถ่ายทอดกลยุทธ์การเรียนรู้
 

การถ่ายทอดกลยุทธ์การเรียนรู้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนรู้จักกลยุทธ์ต่างให้ได้มากที่สุดและสามารถเลือกใช้กลยุทธ์เหล่านั้นให้เหมาะกับการเรียนรู้ของตน โดยผู้สอนควรพัฒนากลยุทธ์การเรียนรู้ทั้งสามแบบข้างต้น เพื่อผู้เรียนจะได้สามารถวางแผน ไตร่ตรองและเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะกับลักษณะการเรียนรู้ของตัวเอง และผู้สอนควรจะนำกลยุทธ์เหล่านั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอและเป็นขั้นเป็นตอนด้วย เช่นการพัฒนาทักษะเฉพาะด้านเช่นกลยุทธ์การอ่านหรือกลยุทธ์การเรียนคำศัพท์ ผู้สอนสามารถใช้ขั้นตอนสี่ขั้นตอนในการถ่อยทอดกลยุทธ์การเรียนรู้ได้ดังนี้
  • การเพิ่มความตระหนักในห้องเรียน ผู้สอนสามารถใช้กลยุทธ์การเรียนที่ผู้เรียนรู้จักแล้วในแบบฝึกหัดเช่น แบบฝึกหัดการอ่านบทความที่มีคำศัพท์ยากหลายคำ โดยเมื่อทำแบบฝึกหัดเสร็จ ผู้สอนสามารถพูดคุยเกี่ยวกับบทความนั้นเป็นกลุ่ม ตั้งคำถามเฉพาะ หรือให้ผู้เรียนพูดคุยกันเองเป็นกลุ่มก็ได้
  • การจัดรูปแบบการเรียนการสอน หลังจากที่ผู้สอนตัดสินใจใช้หนึ่งหรือสองกลยุทธ์ในห้องเรียนแล้ว ผู้สอนควรนำกลยุทธ์เหล่านั้นมาใช้ในการวางแผนการสอน การสอนในห้องและการตรวจสอบผลลัพธ์การเรียนรู้
  • การฝึกฝน ผู้สอนควรทดลองใช้กลยุทธ์ต่างๆ ในการทำแบบทดสอบที่ผู้เรียนต้องใช้ความคิดเป็นอย่างมากในการทำ รวมถึงการคิดไตร่ตรองผลลัพธ์ของกลยุทธ์ดังกล่าวในแบบทดสอบนั้นๆ ด้วย
  • การถ่ายทอดและการประเมินผล ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนควรจะสามารถใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ในการทำแบบฝึกหัดต่างๆ ด้วยตัวเองได้ โดยผู้เรียนจะคิดวิเคราะห์การใช้กลยุทธ์ดังกล่าวผ่านการใช้สื่อการสอน การทำแบบประเมินผล หรือการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เรียนคนอื่นๆ
หากคุณสนใจเรียนรู้และทดสอบกลยุทธ์การเรียนรู้ต่างๆ ที่เราได้เสนอในบทความ คุณสามารถดาวน์โหลดแผนการเรียนการสอนได้ที่ลิงค์ข้างล่าง โดยเรารับรองได้เลยว่าการใช้กลยุทธ์ดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตัวเองและสนุกกับการเรียนรู้ได้อีกด้วย
   

Literature

Bimmel, Peter/Rampillon, Ute (2000): Lernerautonomie und Lernstrategien (= Das Fernstudienangebot Deutsch als Fremdsprache; 23). Berlin: Langenscheidt.
 
Chamot, Anna Uhl/ Barnhardt, Sarah/ Beard El-Dinary, Pamela/ Robbins, Jill (1999): The learning strategies handbook. White Plains: Longman.
 
Finkbeiner, Claudia/ Knierim, Markus/ Smasal, Marc/ Ludwig, Peter (2012): Self-regulated cooperative EFL reading tasks: students’ strategy use and teachers’ support. In: Language Awareness Vol. 21, issue 1-2, p. 57-83.
 
Griffiths, Carol (2013): The strategy factor in successful language learning. Bristol: Multilingual Matters.
 
Smasal, Marc (2010): Lernstrategien im Fremdsprachenunterricht. Ein Workshop für die fächerübergreifende Aus- und Weiterbildung von Fremdsprachenlehrkräften. In: Profil Vol. 2, p. 171-188.