เทศกาลงานศิลปะ ฉายภาพยนตร์ บ้านเเหวกศิลป์

A House in many Parts © Elysee

1 - 16 ธันวาคม 2563

พิธีเปิด 1 ธันวาคม 2563 เวลา 18.30 น. บ้านริมน้ำ

กรุงเทพ

การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมข้ามพรมแดนในช่วงโควิดจะออกมาในรูปแบบใดกัน? ก็ในกล่องสี่เหลี่ยมติดแสตมป์อย่างไรเล่า
 
เทศกาลผสมผสานศิลปะหลายแขนง “บ้านแหวกศิลป์” เชื้อเชิญให้นักสร้างศิลป์ห้าคนจากฝรั่งเศสและเยอรมนีให้มาร่วมจัดกล่องบรรจุแรงบันดาลใจ แล้วส่งมาให้กับศิลปินในประเทศไทย ของที่บรรจุอยู่ภายในยังไม่ได้คัดสรรสำหรับการจัดแสดง แต่จะเดินทางมาในฐานะของขวัญให้ประหลาดใจ นักสร้างศิลป์ห้าคนในประเทศไทยจะได้รับพัสดุที่ตั้งใจส่งมาให้เหล่านี้จากยุโรป อันเต็มไปด้วยไอเดีย แนวคิดและไมตรีสมานฉันท์ จากสิ่งที่บรรจุในกล่องพัสดุจะเกิดเป็นผลงานศิลป์ร่วมกันห้าชิ้น โดยการทำงานร่วมกันเป็นการปฏิบัติการศิลป์ที่เกิดจากการตีความใหม่

ด้วยแนวคิดอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของโครงการความร่วมมือครั้งนี้ ภัณฑารักษ์ของเทศกาล อภิจาน โตโต เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมงานและทุกๆ คนเข้ามาทำความรู้จักและช่วยสรรค์สร้างแนวคิด “การรวมตัวหลากพื้นที่” ร่วมกัน
 
 
“บ้านเเหวกศิลป์” มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์พื้นที่สำหรับการเยียวยาและสะท้อนความคิดโดยองค์รวม เราต้องการตั้งคำถามต่อวิกฤตที่ซ่อนอยู่หลายครั้งในโลกร่วมสมัยของเราและต้องการทบทวนบทบาทของศิลปะด้วยความหวังที่จะสร้างอนาคตที่อยู่อาศัยองค์รวมร่วมกัน”

อภิจาน โตโต ภัณฑารักษ์
 
“ในวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ผู้คนทุกชนชาติจะต้องร่วมมือร่วมใจกันและวัฒนธรรมจะยังคงเป็นกุญแจที่สำคัญที่สุดในการเชื่อมความสัมพันธ์ซุ้มศิลปะฝรั่งเศส-เยอรมัน “บ้านเเหวกศิลป์” จะสร้างบรรทัดฐานใหม่และแสดงให้เห็นว่าการแลกเปลี่ยนกันระหว่างคนทำงานในสายวัฒนธรรมจากฝรั่งเศส เยอรมนี และประเทศไทยจะยังคงดำเนินไปได้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ การทดลองทางวัฒนธรรมที่เน้นหัวข้ออย่างแปลกใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากความเชื่อใจและความรับผิดชอบของพันธมิตรและศิลปินผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายท่าน ในการนี้ดิฉันขอขอบคุณทุกคนจากใจ”

มาเร็น นีไมเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
 
“ความคิดตั้งต้นของการจัดเทศกาล “บ้านเเหวกศิลป์” เกิดขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่ให้กับเสรีภาพและการแลกเปลี่ยนเพื่อเป็นการสะท้อนแวดวงศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยภายใต้กรอบความร่วมมือฝรั่งเศส-เยอรมัน
ขอให้พื้นที่ในจินตนาการแห่งนี้ส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ความเข้าอกเข้าใจการยอมรับในความแตกต่างและไมตรีจิตแห่งพื้นที่อันไกลโพ้นในยามที่โลกได้รับผลกระทบจากโรคระบาดอาจกำลังถูกท้าทายให้เกิดการเพิกถอนและปฏิเสธ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องแสดงให้ตระหนักว่า การสร้างสรรค์งานศิลปะนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด”


ตีแยรี เบย์ล ผู้ช่วยทูตฝ่ายวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย


สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสและสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย และสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทยร่วมกันจัดงานนี้ขึ้นภายใต้การสนับสนุนของกองทุนวัฒนธรรมเยอรมัน-ฝรั่งเศส เพื่อเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์และโครงการความร่วมมือระหว่างศิลปินในยุโรปและประเทศไทยให้เข้มแข็งขึ้น
 

ย้อนกลับ