เสวนา วัฒนธรรมพริกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเยอรมนี

ศุกร์ 5 พ.ย. 64 | เวลา 16.00 น.

Youtube Goethe-Institut Indonesien

ออนไลน์

พบกับ วิลเลียม วงโสะ, เพตตี้ อิลเลียต, วินเซนต์ รูมาลอยเนอ, อเล็กซานเดอร์ ฮิคส์, ดอว พิว พิว ทิน และ อาเด ปุตริ ปารามาดิตะ

เป็นที่รู้กันดีว่าพริกเป็นเครื่องปรุงและเครื่องเทศในการประกอบอาหารที่นิยมอย่างมากในบางภูมิภาคของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วในประเทศเยอรมนีเป็นอย่างไร คนเยอรมันใช้พริกประกอบอาหารทุกวันเหมือนในภูมิภาคนี้หรือไม่

สำหรับชาวเอเชียวตะวันออกเฉียงใต้ พริกไม่ใช่แค่อาหารแต่ยังเป็นเสี้ยวหนึ่งของวัฒนธรรม บทบาทของพริกที่มีต่อวงการอาหารนั้นเห็นได้เด่นชัดจากเมนูอาหารอันมีความเฉพาะตัว นอกจากนี้พริกยังมีผลต่อเศรษฐกิจอีกด้วย เช่น ราคาพริกที่สูงขึ้นในประเทศอินโดนีเซียอาจมีผลต่อภาวะเงินเฟ้อ โดยเฉพาะในอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ

นั่นคือเหตุผลที่สถาบันเกอเธ่ จาการ์ต้า ร่วมกับสถาบันเกอเธ่บันดุง กรุงเทพฯ และย่างกุ้งร่วมกันจัดเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “วัฒนธรรมพริกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศเยอรมนี” ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า “แซ่บกับเกอเธ่” ผู้เชี่ยวชาญจากอินโดนีเซีย เยอรมนี และเมียนมาร์ จะมาพูดคุยเกี่ยวกับพัฒนาการของวัฒนธรรมพริกในภูมิภาคนี้ และเยอรมนี รวมถึงบทบาทของพริกในชีวิตประจำวัน   

การเข้าฟังเสวนานี้ไม่มีค่าใช้จ่าย และเปิดให้ทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมได้
 

เข้าฟังผ่านทางช่อง Youtube ของเรา


ผู้ร่วมเสวนา

William Wongso © William Wongso วิลเลี่ยม วงโสะ (William Wongso) ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร
วิลเลี่ยม วงโสะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับรางวัลด้านอาหารจากประเทศอินโดนีเซีย เขามีชื่อเสียงจากการเป็นที่ปรึกษาด้านอาหาร จากการเขียนหนังสือ และเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมมากมาย เขาเดินทางในอินโดนีเซียและต่างประเทศอยู่ตลอดเวลาเพื่อนำเสนอและเผยแพร่เทรนด์อาหารใหม่ ๆ ตั้งแต่สตรีทฟู้ดจนถึงอาหารชั้นเลิศที่เสิร์ฟในร้านอาหารนานาชาติชื่อดัง วอร์เรน ซารากาทา (Warren Caragata) จากนิตยสาร Asia Weeks เคยขนานนามเขาว่าเป็น “สุดยอดเชฟ พอล โบคุส แห่งอินโดนีเซีย” วิลเลี่ยม วงโสะไม่ได้สนใจแค่ความหลากหลายของอาหารพื้นเมืองอินโดนีเซียเท่านั้น แต่ยังเชื่อว่าอาหารอินโดนีเซียจะต้องเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงของวงการอาหารของโลก

Petty Elliot © Petty Elliot เพตตี้ อีเลียต (Petty Elliot) นักเขียน และ เชฟ
เพตตี้ อีเลียตจากอินโดนีเซียเป็นผู้เขียนตำราอาหาร ผู้ฝึกสอนด้านอาหารและเป็นเชฟ เธอเรียนทำกับข้าวด้วยตัวเองและเป็นหนึ่งในผู้พลิกโฉมวัฒนธรรมอาหารของอินโดนีเซียคนแรก ๆ จากตำราอาหาร และบทความต่าง ๆ ที่เธอได้เขียนลงหนังสือพิมพ์และนิตยสาร เธอเคยร่วมงานกับเชฟอินโดนีเซียและเชฟต่างชาติหลายคนในภัตาคารและโรงแรมชั้นนำทั้งในจาการ์ต้า บาหลี สิงคโปร์ ลอนดอน อัมสเตอร์ดัม และแฟรงก์เฟิร์ต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 เธอสร้างเว็บไซต์ rasaku.co.uk เพื่อจำหน่ายอาหารพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีฐานในประเทศอังกฤษ เป็นแพลตฟอร์มเพื่อจำหน่ายอาหารพื้นเมืองอินโดนีเซียที่ผลิตขึ้นเอง นอกจากนี้เธอยังเป็นสมาชิกของ Gild of Food Writers UK (สมาคมนักเขียนด้านอาหารสหราชอาณาจักร) และกรรมการระดับชาติของอินโดนีเซียในโครงการมอบรางวัลเยาวชน Duke of Edinburgh (ดยุคแห่งเอดินบะระ)

Vincent Rumahloine © Vincent Rumahloine วินเซนต์ รูมาลอยเนอ (Vincent Rumahloine) ศิลปินสาขาทัศนศิลป์
วินเซนต์ รูมาลอยเนอ เป็นศิลปินร่วมสมัยที่ตีแผ่สังคมอย่างมีอารมณ์ขันทั้งด้านโครงสร้างและชีวิตประจำวัน ประเด็นหลักในงานของเขาคือสังคม สิทธิมนุษยชน คุณค่าทางวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ของมนุษย์ ความทรงจำร่วมกันและการบอกเล่าทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบใหม่ วินเซนต์เป็นผู้ชนะคนที่หกที่ได้รับรางวัลศิลปะร่วมสมัยเมืองบันดุงในปี 2019 จากโครงการ Don’t call me a Hero (อย่าเรียกฉันว่าฮีโร่) ซึ่งขนะนี้กำลังจัดแสดงอยู่ที่หอศิลปะ Latiwangi ในเมืองบันดุง นอกจากนั้นเขายังเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งสตูดิโอศิลปะร่วมสมัยและประธานมูลนิธิ Rakarsa อีกด้วย
  
Daw Phyu Phyu Tin © Daw Phyu Phyu Tin ดอว พิว พิว ทิน (Daw Phyu Phyu Tin) กรรมจากรายการมาสเตอร์เชฟเมียนมาร์
ดอว พิว พิว ทินเป็นเจ้าของกิจการที่มีประสบการณ์ 15 ปีในแวดวงการบริการต้อนรับ กิจการเพื่อสังคมและธุรกิจค้าปลีก เธอเป็นผู้นำด้านธุรกิจเพื่อสังคมและร่วมก่อตั้งบริษัท Yangon Bakehouse ในปีค.ศ. 2013 ด้วยความหลงใหลในอาหารและการทุ่มเทเพื่อสิทธิสตรี เธอลงมือลงแรงอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อให้ประเทศเมียนมาร์เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ เธอได้รับคัดเลือกจากรายการที่โด่งดังระดับนานาชาติอย่างมาสเตอร์เชฟเมียนมาร์ให้เป็นกรรมการในซีซั่นแรก ๆ

Alexander Hicks © Alexander Hicks อเล็กซานเดอร์ ฮิคส์ (Alexander Hicks) ผู้เชี่ยวชาญด้านพริก
อเล็กซานเดอร์ ฮิคส์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพริกจากเยอรมนี เขาเริ่มจากการปลูกพริก 13 สายพันธุ์ และในปีค.ศ. 2006 เขาได้รวบรวมพริกไปแล้วถึง 375 ชนิดจากทั่วโลก ในปีค.ศ. 2009 เขาได้นำเสนอแปลงปลูกพริกที่นิทรรศการสวนที่จัดขึ้นทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี พร้อมกับบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับพริก ต่อมาในปีค.ศ. 2014 เขาเริ่มทำงานกับร้านขายเครื่องเทศออนไลน์สัญชาติเยอรมันชื่อ Pepperworld ที่นี่เขาได้พัฒนาผลิตภัณฑ์หลากชนิด ริเริ่มการส่งพริกและก่อตั้งสังคมออนไลน์ “คนกินเผ็ด” ขนาดใหญ่ ทุกวันนี้เขาเปิดบริษัทของตัวเอง เพาะปลูกพืช พริกและเมล็ดพันธุ์ชนิดต่าง ๆ และจำหน่ายทางออนไลน์  

พิธีกร

Ade Putri Paramadita © Fauzi M. Reza อาเด ปุตริ ปารามาดิตะ (Ade Putri Paramadita) นักเล่าเรื่องด้านอาหาร
อาเด ปุตริ ปารามาดิตะ เติบโตในครอบครัวที่หลงใหลอาหารเป็นที่สุด เธอเคยดำเนินรายการในสถานีวิทยุและเป็นพิธีกรซีรีส์ในเว็บ Youtube เมื่อไม่นานมานี้เธอทำหน้าที่เป็นไกด์ท้องถิ่นในซีรีส์ “Uncharted” ของช่อง National Geographic ร่วมกับกอร์ดอน แรมซีย์ (Gordon Ramsay) เธอมีชื่อเสียงในฐานะนักเขียนและผู้ให้คำปรึกษาด้านอาหาร เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Beergambira และเป็นเจ้าของ Kedai Aput และยังสนับสนุนกิจกรรม Aku Cinta Makanan Indonesia โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการรักษาวิธีปรุงอาหารอินโดนีเซียแบบดั้งเดิม

ย้อนกลับ